หุ้นรับอานิสงส์รัฐผลักดันแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ

แนวโน้มของทิศทางการผลักดันของรัฐบาลในปี 2565 หลัก ๆ จะมุ่งเน้นไปประเด็น การลงทุนทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ ภาคส่งออก และมาตรการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้า


เส้นทางนักลงทุน

สืบเนื่องจากงานสัมมนาประจำปี Thailand Compettiveness 2021 นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน กล่าวถึงแนวโน้มของทิศทางการผลักดันของรัฐบาลในปี 2565 หลัก ๆ จะมุ่งเน้นไปประเด็น การลงทุนทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ ภาคส่งออก และมาตรการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น

ทั้งนี้ทำให้ทาง บล.เอเซีย พลัส ประเมินถึงแนวโน้มดังกล่าว ว่าอย่างไรก็ตามบริษัทจดทะเบียน (บจ.) คาดว่าจะได้ประโยชน์กับทิศทางผลักดันเศรษฐกิจของภาครัฐบาลในปี 2565 อย่างแน่ชัด

สำหรับการลงทุนทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ โดยภาคเอกชน การให้วีซ่าระยะยาวสำหรับผู้มีกำลังซื้อสูงจากต่างประเทศ และผู้เชี่ยวชาญระดับสูงที่จะมาพำนักระยะยาวในไทย ทั้งนี้เชื่อว่าจะดีต่อหุ้นกลุ่มนิคม ได้แก่  บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) หรือ AMATA, บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ WHA

ขณะที่การกระตุ้นภาครัฐ โดยจะเร่งโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล โดยเฉพาะการลงทุนต่อเนื่องกับ 5G และการลงทุนรถไฟทางคู่และรถไฟฟ้า ทั้งนี้ก็จะดีต่อหุ้นกลุ่มรับเหมา ได้แก่  บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK, บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC

ส่วนทางด้านภาคส่งออก โดยคาดในปี 2565 จะมีปัจจัยหนุนได้จากความชัดเจนจะเริ่มร่วมข้อตกลงการค้า สำคัญ  อาทิ CPTPP และ FTA ไทย-อียู ซึ่งทั้ง 2 ข้อตกลงการค้าถือว่าเป็นข้อตกลงขนาดใหญ่ เพราะหากพิจารณา CPTPP ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่าง 11 ประเทศ ออสเตรเลีย, บรูไน ดารุสซาลาม, แคนาดา, ชิลี, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, เม็กซิโก, นิวซีแลนด์, เปรู, สิงคโปร์ และเวียดนาม คิดเป็น 13% ของ GDP โลก และมีสัดส่วน 15% ของการค้าโลก (ล่าสุดสหรัฐฯ ตัดสินใจจะกลับเข้าร่วม หลังจากก่อนหน้าสมัย ปธน. ทรัมป์ได้ถอนตัวออก)

โดยผลประโยชน์หากไทยเข้าร่วม คือ 1. เปิดตลาด แคนาดา และเม็กซิโก เพราะปัจจุบันไทยไม่มี FTA กับ 2 ประเทศนี้ ฯลฯ ส่วนข้อกังวล หากไทย เข้าร่วม อุตสาหกรรมเกษตรเผชิญการแข่งขันที่มากขึ้น 2. เกษตรกรมีต้นทุนสูงขึ้น โดยรวมประเมินหากไทยเข้าร่วม CPTPP และ FTA ไทย-EU คาดภาคส่งออกจะได้อานิสงส์บวกต่อเนื่อง

ดังนั้นหุ้นส่งออกได้รับประโยชน์ที่แนะนำลงทุน อาทิ กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์  ได้แก่ บริษัท เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) หรือ KCE ราคาเป้าหมาย 100 บาท และบริษัท เอสวีไอ จำกัด (มหาชน) หรือ SVI ราคาเป้าหมาย 6.20 บาท

ตามด้วยกลุ่มส่งออกอาหาร แนะนำ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU ราคาเป้าหมาย 26.00 บาท ต่อเนื่องกลุ่มส่งออกเหล็ก แนะนำ บริษัท เอ็ม.ซี.เอส.สตีล จำกัด (มหาชน) หรือ MCS ราคาเป้าหมาย 21.00 บาท

นอกจากนี้มาตรการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้า รถ EV (Electric Vehicle) รอรายละเอียด ซึ่งคาดเป็นบวกกับบริษัทที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA และ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC ขณะที่ส่วนประกอบยานยนต์อย่าง บริษัท ไทยสแตนเลย์การไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ STANLY เป็นต้น

ท้ายสุดแล้วหุ้นข้างต้นเป็นการคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากภาครัฐเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจในระยะยาวต่อไป!!!

Back to top button