ระวัง TESG ความเสี่ยงค่า FEE สูงกว่าผลตอบแทน

เจตนาในการจัดตั้ง “กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thailand ESG Fund:Thai ESG)” ของหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับตลาดทุน ทั้งในส่วนของกระทรวงการคลัง-สำนักงานก.ล.ต.-ตลาดหลักทรัพย์ฯ-สมาคมบลจ. ถือเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม


เจตนาในการจัดตั้ง “กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thailand ESG Fund:Thai ESG)” ของหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับตลาดทุน ทั้งในส่วนของกระทรวงการคลัง-สำนักงานก.ล.ต.-ตลาดหลักทรัพย์ฯ-สมาคมบลจ. ถือเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม ทั้งในเรื่องของการกระตุ้นความตื่นตัวในส่วนการออมเงินระยะยาว ภาคประชาชน แล้ว

ในส่วนผู้มีเงินได้ ก็สามารถนำมาเป็นสิทธิในการลดหย่อนภาษีในอัตราสูงสุดไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน 

เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 1 แสนบาทสำหรับปีภาษี โดยจะต้องถือหน่วยลงทุนนี้ไว้ไม่ต่ำกว่า 8 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุน

นอกจากนี้ ยังเป็นการสนับสนุนบริษัทจดทะเบียนที่เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ ต่อการรณรงค์ให้ประเทศไทยมีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) รวมถึงเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)

เบื้องต้น ทางสำนักงานก.ล.ต. ได้มีการอนุมัติจัดตั้งกองทุน Thai ESG ชุดแรก จำนวน 22 กองทุน จาก 16 บลจ. โดยเข้าไปลงทุนในหุ้นที่อยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings จำนวน 193 บริษัท

โดย Thai ESG Funds ที่มีจำนวน 22 กองทุน จะแบ่งเป็น กองทุนที่ลงทุนในหุ้น (Equity) จำนวน  19 กองทุน, กองทุน Mixed (หุ้น+ตราสารหนี้) จำนวน 2 กองทุน และอีก 1 กองทุนลงในตราสารหนี้เพียงอย่างเดียว

สำหรับเรตค่าธรรมเนียม (Management Fee) ที่เป็นค่าใช้จ่ายที่ทางบลจ.เรียกเก็บจากการบริหารเงินลงทุนกับผู้ถือหน่วย (ประชาชน) ที่ต้องการออมเงินระยะยาว รวมถึงสิทธิพิเศษในการลดหย่อนภาษี (เล็ก ๆ น้อย ๆ) ต้องมาเผชิญหน้ากับสิ่งที่ค่อนข้างจะโหดร้ายสักเล็กน้อย 

โดยเฉพาะค่าธรรมเนียมของ กองทุน Active Funds บางกองทุนที่คิดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมด (Management Fee) มีตั้งแต่ระดับต่ำสุดคือ 0.64% (คิดเป็น 5.12% ต่อ 8 ปี), 0.75% (คิดเป็น 6%), 1.61% (คิดเป็น 12.88%), 1.88% (คิดเป็น 15.04% และสูงสุด 2.14% (คิดเป็น 17.12%) เป็นทั้งแบบมีปันผลและไม่มีปันผล

ถ้าหากคิด Management Fee ตั้งแต่ระดับต่ำสุด ที่ระดับ 5-17% ตลอด 8 ปี ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่ประชาชนจะต้องจ่ายอย่างแน่นอน ส่วนผลตอบแทนจะได้เกินค่าธรรมเนียม หรือเปล่านั้น ความเสี่ยงดังกล่าวจะตกอยู่ที่ผู้ถือหน่วยแต่เพียงผู้เดียว

เหตุผลที่ต้องมาโฟกัส กองทุน TESG เนื่องจากนโยบายการลงทุน ที่เป็น Active Funds จะไม่หนีจาก หุ้นใน SET ESG Rating จะมีทั้งไม่ต่ำกว่า A ขึ้นไป แถมมีความเสี่ยงมากระดับ 6 กำกับอยู่

ฉะนั้น การที่กอง Active Fund จะคิดค่าธรรมเนียมแบบนี้ น่าจะไม่ทำให้ประชาชนได้ประโยชน์จากการออมเงินผ่าน TESG แบบนี้สักเท่าไหร่ 

ยิ่งในภาวะตลาดหุ้นแบบนี้ การลงทุน 8 ปี โดยคาดหวังผลตอบแทนเกิน 15-20 % เพื่อให้ครอบคลุมต้นทุนที่ต้องจ่าย อาจจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากสักหน่อย

ยิ่งในเมื่อรัฐบาลและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน พยายามจะสร้างนิยามการออมผ่านกองทุน TESG เพื่อผลประโยชน์ให้ตกกับประชาชน แต่กลับกลายเป็นถูกเอารัดเอาเปรียบจากกองทุนเหล่านี้

แม้จะมีการอ้างจากผู้ออกกอง ว่า กองทุนไซส์ขนาดเล็ก ทำแล้วมีค่าบริหารจัดการสูง ทำให้ค่า Management Fee ต้องสูงตามไปด้วยนั้น ก็ถูกต้อง

แต่ในความเป็นจริง ต้นทุนทั้งหมด share อยู่กับกองเก่าที่ิออกมาแล้ว ประกอบกับทางตลาดหลักทรัพย์ฯ เอง ก็เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำ INDEX ESG ซึ่งทางกองทุนเอง ก็ไม่ต้องไปมีต้นทุนส่วนนี้

จากนี้ไป อีก 8 ปีข้างหน้า หากตลาดหุ้น ขึ้นไม่ถึง 20% ก็เท่ากับว่า คนที่ถือหน่วยของกองทุน TESG ที่มีต้นทุนสูง ๆ จะขาดทุนจากการจ่ายค่าธรรมเนียม และไม่คุ้มกับความเสี่ยงที่ลงไป

ประชาชนที่ไม่มีความรู้ในการคำนวณต้นทุน ซื้อไปเสี่ยงขาดทุน ทั้งที่รัฐลดภาษีให้ประชาชนแต่เจอบางบลจ.มาเอาเปรียบแบบนี้ แย่นะ

สุดท้ายแล้ว “ความเสี่ยงจากการลงทุน” ไม่ได้อยู่ที่ความผันผวนของตลาดหุ้น เพียงอย่างเดียว แต่กลายเป็นต้องมีความเสี่ยงจากการมี “ค่า Management Fee” ที่สูงอีกด้วยนั่นเอง

Back to top button