MALEE น้ำผลไม้เริ่มขม (ขื่น).!?

เมื่อเอ่ยถึงชื่อบริษัท มาลีกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MALEE สิ่งแรกที่หลายคนนึกถึงคือ “น้ำผลไม้และผลไม้กระป๋อง” ภายใต้แบรนด์ MALEE นั่นคือภาพจำที่ติดตาบรรดานักลงทุนและผู้บริโภคในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา จากวันนั้นถึงวันนี้ MALEE มีการปรับโครงสร้างธุรกิจอยู่หลายครั้ง แต่สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยน คือ ธุรกิจหลัก (Core Business) ที่เป็น “น้ำผลไม้และผลไม้กระป๋อง” แม้มีธุรกิจใหม่อย่างธุรกิจพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามสัญญาและรับจ้างผลิต (CMG) เพิ่มเข้ามาก็ตาม


แฉทุกวันทันเกมหุ้น

เมื่อเอ่ยถึงชื่อบริษัท มาลีกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MALEE สิ่งแรกที่หลายคนนึกถึงคือ “น้ำผลไม้และผลไม้กระป๋อง” ภายใต้แบรนด์ MALEE นั่นคือภาพจำที่ติดตาบรรดานักลงทุนและผู้บริโภคในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา จากวันนั้นถึงวันนี้ MALEE มีการปรับโครงสร้างธุรกิจอยู่หลายครั้ง แต่สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยน คือ ธุรกิจหลัก (Core Business) ที่เป็น “น้ำผลไม้และผลไม้กระป๋อง” แม้มีธุรกิจใหม่อย่างธุรกิจพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามสัญญาและรับจ้างผลิต (CMG) เพิ่มเข้ามาก็ตาม

ล่าสุด MALEE ประกาศแตกไลน์สินค้าใหม่ อาทิ ขนมเพื่อสุขภาพ-อาหารเสริม-เครื่องสำอาง ที่น่าสนใจตรงที่สินค้าใหม่เหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็น “สินค้าโหนกระแส” ทั้งสิ้น คำถามจึงตามมาทันทีว่า “ปรับตัวช้าเกินไปหรือไม่” ที่สำคัญความยั่งยืนสินค้าโหนกระแสเหล่านี้มีมากน้อยเพียงใด.!?

แต่ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า MALEE มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องแตกไลน์สินค้าใหม่ หลังจาก “ตลาดเครื่องดื่มน้ำผลไม้” มีการชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นดีมานด์ชะลอตัวหรือการแข่งขันที่รุนแรง จนทำให้อัตรากำไรเติบโตแบบถดถอยอย่างชัดเจน สะท้อนให้เห็นในงบการเงินรายไตรมาส ตลอดช่วง 1 ปีที่ผ่านมา (ตามรูป)

ขณะที่ธุรกิจพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามสัญญาและรับจ้างผลิต (CMG) บริษัทมีลูกค้าที่ใช้บริการลดลง อาทิ สตาร์บัคส์ ที่ถือเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่ใช้บริการ CMG เพื่อการผลิตน้ำผลไม้จำหน่ายในประเทศจีน ฮ่องกง และมาเก๊า ได้ยกเลิกสัญญา นั่นทำให้รายได้จากธุรกิจ CMG ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ..!!

ส่วนสินค้าใหม่ “น้ำส้มสายชูหมักจากน้ำมะพร้าวแท้ 100%” ภายใต้แบรนด์ “วินติโค” ถือเป็นสินค้านวัตกรรมเจาะตลาดคนรักสุขภาพ..อาจต้องใช้เวลาพิสูจน์ความสำเร็จกันอีกสักระยะหนึ่ง.!?

มีการประเมินกันว่า ผลประกอบการไตรมาส 2/2561 กำไรมีโอกาสกลับมาฟื้นตัวจากปัจจัยฤดูกาล แต่ไม่ถึงขั้นสดใสมากนัก เพราะไม่สามารถใช้กำลังผลิตเครื่องจักรใหม่ได้เต็มประสิทธิภาพ ขณะที่บริษัทร่วมที่ฟิลิปปินส์อาจต้องเผชิญผลขาดทุนต่อไป ส่วนสินค้าใหม่ชิ้นแรกที่พัฒนาร่วมกับ MEGA ต้องเลื่อนออกไป เป็นช่วงไตรมาส 4/2561 หลังติดปัญหาเรื่อง อย.ล่าช้า ทำให้แผนการรับรู้รายได้ต้องเลื่อนออกไปเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ผู้บริหาร MALEE เชื่อมั่นว่าแนวโน้มครึ่งปีหลังจะเริ่มเห็นผลการดำเนินงานฟื้นตัวขึ้นจากยอดขายที่เติบโตได้มากกว่า 10% หลังจากบริษัทหันมาผลักดันการเพิ่มยอดขายให้มากขึ้น ส่วนธุรกิจในต่างประเทศ เช่น เวียดนาม หลังเข้าซื้อหุ้นบริษัทร่วมทุนลอง ควน เซฟ ฟู้ด (LQSF) ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มและขนมเยลลี่ในเวียดนาม ช่วงเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา สัดส่วน 65% ด้วยเงินลงทุน 309 ล้านบาท จะมีการบันทึกกำไรเข้ามาช่วงไตรมาส 2/2561 นี้

ส่วนธุรกิจ CMG มีการใช้กลยุทธ์การกระจายความเสี่ยง ทั้งด้านความหลากหลายของกลุ่มผลิตภัณฑ์และลูกค้ามากขึ้น แต่ยอดขายใหม่ที่ทยอยเข้ามายังไม่มากเพียงพอที่จะทดแทนรายได้บางส่วน จากสินค้าบางกลุ่มได้ทันที แต่อย่างไรก็ตามหลังมีลูกค้าและสินค้ารายการใหม่ช่วงไตรมาส 3/2561 จะทำให้ยอดขาย CMG เริ่มฟื้นตัวมากขึ้น

การปรับโครงสร้างธุรกิจของ MALEE ครั้งนี้ ยังมิอาจบอกได้ว่า “สำเร็จหรือล้มเหลว” แต่การได้เห็นจุดอ่อนและพยายาม “หาจุดแข็ง” หรือ “หาโอกาสใหม่” เป็นสิ่งที่ต้องติดตามกันต่อไป

แต่ในแง่มุมของ “ราคาหุ้น MALEE ที่ปรับตัวลงมาอย่างต่อเนื่อง..จะฟื้นตัวกลับมาได้หรือไม่ คงต้องขึ้นอยู่กับผลประกอบการเป็นสำคัญว่าจะฟื้นตัวอย่างไร..เพราะนั่นคือ “การฟื้นศรัทธาราคาหุ้น” อย่างแท้จริง..!??

….อิ อิ อิ…

Back to top button