DCORP แชมป์หุ้นติด Cash Balance

สรุปรายชื่อหลักทรัพย์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกาศกำหนดให้ดำเนินมาตรการด้านการซื้อขาย สาเหตุจากการซื้อขายผิดไปจากสภาพปกติของตลาดฯ เพื่อป้องกันความเสี่ยงอันอาจจะเกิดต่อนักลงทุนและระบบโดยรวมของตลาดฯ


รายงานพิเศษ

สรุปรายชื่อหลักทรัพย์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกาศกำหนดให้ดำเนินมาตรการด้านการซื้อขาย สาเหตุจากการซื้อขายผิดไปจากสภาพปกติของตลาดฯ เพื่อป้องกันความเสี่ยงอันอาจจะเกิดต่อนักลงทุนและระบบโดยรวมของตลาดฯ

ตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายมาตรการกำกับการซื้อขาย (Cash Balance)

สำหรับหุ้นสามัญ อย่างหลักทรัพย์ในกลุ่ม SET ต้องมีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันในรอบสัปดาห์มากกว่าหรือเท่ากับ 100 ล้านบาทต่อวัน (รวม 500 ล้านบาทต่อสัปดาห์ในสัปดาห์ที่มี 5 วัน) หรือ (400 ล้านบาทต่อสัปดาห์ในสัปดาห์ที่มี 4 วัน) ส่วนหลักทรัพย์ในกลุ่ม mai ใช้เกณฑ์มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยที่ 80 ล้านบาทต่อวัน

ขณะเดียวกัน มีค่า P/E มากกว่าหรือเท่ากับ 40 เท่า หรือขาดทุน (ตลท.จะใช้ EPS ย้อนหลัง 4 ไตรมาสในการคำนวณ) รวมถึงตลาดหลักทรัพย์ฯ จะใช้เกณฑ์ค่า TurnOver Ratio มากกว่าหรือเท่ากับ 40%

ส่วนวอร์แรนต์ที่อยู่ใน SET ต้องมีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันในรอบสัปดาห์มากกว่าหรือเท่ากับ 100 ล้านบาทต่อวัน ขณะที่วอร์แรนต์ใน mai ยังใช้เงื่อนไขเดียวกับวอร์แรนต์ใน SET

ประกอบกับ ค่า % Premium ต้องมากกว่าหรือเท่ากับ 20% ของหุ้นแม่ รวมถึงต้องมี TurnOver Ratio มากกว่าหรือเท่ากับ 100% และเพิ่มเติมเกณฑ์ให้ Warrant ของหุ้นที่ติด Cash Balance ต้องติดตามหุ้นหลักด้วย ตามระยะเวลาที่หุ้นหลักติด ถึงแม้ว่า Warrant จะเข้ามาเทรดใหม่ก็ตาม

จากกฎเกณฑ์ และเงื่อนไขดังกล่าว ส่งผลให้หลักทรัพย์ที่เข้าข่ายมาตรการกำกับการซื้อขาย (Cash Balance) ประจำปี 2561 ติดระดับ 1 : Cash Balance ไปทั้งสิ้น 41 ตัว โดยแยกเป็นหุ้นสามัญ 34 ตัว ส่วนวอร์แรนต์ 7 ตัว

ขณะที่ ระดับ 2 : ห้ามคำนวณวงเงินซื้อขาย และ Cash Balance รวมถึงระดับ 3 : ห้าม Net settlement, ห้ามคำนวณวงเงินซื้อขาย และ Cash Balance ยังไม่มีหุ้นตัวไหนเข้าติด!!!

เมื่อเข้าดูรายละเอียดหลักทรัพย์วนเวียนเข้าติดระดับ 1 : Cash Balance มากสุด!!! “แชมป์ประจำปี 2561” ตกเป็นของ DCORP ติดไป 6 ครั้ง ตามมาด้วย OCEAN, UREKA ติดไป 5 ครั้ง ถัดมา HUMAN ติดไป 4 ครั้ง ถัดมา ASAP, DDD, SEAOIL, TVD ติดไป 3 ครั้ง

ถัดมา DNA, ECF, GULF, JKN, KCM, PORT, SOLAR, TITLE ติดไป 2 ครั้ง และ AMANAH, AU, CHAYO, CHO, CMAN, COTTO, FLOYD, GCAP, GL, III, JMART, KOOL, NFC, PSTC, RMLSCI, SISB, TTCL ติดไป 1 ครั้ง

หลักทรัพย์ดังกล่าวในบางส่วนหลุดจากการติด Cash Balance ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เหลือก็แต่เพียง DCORP วันที่สิ้นสุด 4 ม.ค.62, ECF วันที่สิ้นสุด 1 ก.พ.62, SISB วันที่สิ้นสุด 18 ม.ค.62 และ UREKA วันที่สิ้นสุด 4 ม.ค.62 ที่ยังต้องซื้อขายด้วยบัญชี cash balance เท่านั้น โดยลูกค้าต้องวางเงินสดไว้ล่วงหน้ากับสมาชิกเต็มจำนวนก่อนซื้อหลักทรัพย์

เหมือนกับวอร์แรนต์เข้าติดระดับ 1 : Cash Balance มากสุด คือ ECF-W3 ติดไป 4 ครั้ง ตามด้วย DNA-W1 ติดไป 2 ครั้ง ขณะที่ JKN-W1, JMART-W2, ORI-W1, PSTC-W1, TCMC-W2 ติดไป 1 ครั้ง

ทางด้านวอร์แรนต์ที่ยังไม่หลุดจากการติด Cash Balance ได้แก่ ECF-W3 วันที่สิ้นสุด 1 ก.พ.62 และ ORI-W1 วันที่สิ้นสุด 18 ม.ค.62

เอาเป็นว่าหลักเกณฑ์มาตรการกำกับหุ้นร้อนของตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังคงเข้มงวดในการสกัดหุ้นที่มีการซื้อขายร้อนแรงผิดปกติได้เป็นอย่างดีต่อเนื่อง

ทั้งนี้ คอยติดตามว่าในปี 2562 ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะมีรายการแจ้งเตือนการซื้อขายหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายมาตรการกำกับการซื้อขายที่มีการซื้อขายผิดไปจากสภาพปกติของตลาดได้มากน้อยแค่ไหน “จะน้อยกว่าเดิมหรือเยอะกว่าเดิม” จะนำเสนอแก่นักลงทุนช่วงต่อไป!!!!

Back to top button