EA ผุดสาร PCM จากน้ำมันปาล์มเจ้าแรกในโลก! คาดดันรายได้เพิ่มอีก 800 ลบ.

EA ผุดสาร PCM จากน้ำมันปาล์มเจ้าแรกในโลก! คาดดันรายได้เพิ่มอีก 800 ลบ.


นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA กล่าวว่า บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานสะอาด และนวัตกรรมเทคโนโลยีพลังงานเพื่ออนาคตหลากหลายธุรกิจ ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์-พลังงานลม, โรงงานแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน, น้ำมันไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์ม, รถยนต์-เรือโดยสารไฟฟ้าที่เกิดโดยฝีมือคนไทย, สถานีชาร์จรถไฟฟ้า เป็นต้น

โดยเน้นธุรกิจที่สอดคล้องกับความต้องการด้านพลังงานในอนาคตการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและได้ประโยชน์สูงสุดที่ผ่านมาบริษัทฯให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างเข้มข้นคิดค้นนวัตกรรมที่ต่อยอดและเพิ่มมูลค่าให้ธุรกิจในปัจจุบันจากการตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียชุมชนและประเทศ นำไปสู่เจตจำนงที่จะร่วมสร้างและแบ่งปันความสำเร็จไปด้วยกันทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมจึงเป็นที่มาของแนวคิด ‘นวัตกรรมสังคมองค์กร’ หรือ Corporate Social Innovation (CSI)

ทั้งนี้ บริษัทอยากแบ่งปันองค์ความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ใช้ในบริษัทมาสร้างประโยชน์ให้กับสังคมและชุมชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เติบโตเข้มแข็งเกิดประโยชน์ร่วมกันในระยะยาวเป็นรากฐานสู่การพัฒนาชุมชนทุกมิติสู่ความยั่งยืนในที่สุดนำร่องด้วยโครงการ ผลิตสารเปลี่ยนสถานะ หรือ PCM (Phase Change Material) จากน้ำมันปาล์มครั้งแรกในโลก โดยนำนวัตกรรม Blockchain มาพัฒนาเป็น platform เพื่อใช้บันทึกข้อมูลและตรวจสอบการซื้อขายปาล์มตลอดจนปันผลประโยชน์ตอบแทนถือเป็นโครงการ CSI ต้นแบบของบริษัทด้วยงบลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท เป็นการเพิ่มมูลค่าของปาล์มและทำให้เกษตรกรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นโดยเรามีความเชื่อว่าการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้นต้องคำนึงถึงความสมดุลย์ของ 3P

ได้แก่ 1.Planetการบริหารพลังงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่โลกใบนี้ใช้เทคโนโลยีสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ

2.Peopleสร้างประโยชน์ให้เกิดแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายและ3.Profitการได้รับผลตอบแทนที่ดี สามารถแบ่งปันผลตอบแทนนั้นกลับสู่วงจรสารเปลี่ยนสถานะ หรือ PCM (Phase Change Material)  คือ วัสดุที่มีความสามารถในการกักเก็บพลังงานสูง ชวยรักษาอุณหภูมิให้คงที่ที่ค่าใดค่าหนึ่งตามแต่สูตรการผลิต ด้วยการดูดซับและปลดปล่อยพลังงานความร้อน และเปลี่ยนสถานะสารจากของเหลวเป็นของแข็งและจากของแข็งเป็นของเหลวได้จากอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไป จึงสามารถนำไปเป็นส่วนประกอบใช้ประโยชน์ในการรักษาอุณหภูมิในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท

เช่น อาคารและการก่อสร้าง,  เสื้อผ้า, บรรจุภัณฑ์, การขนส่ง เป็นต้น PCM จากน้ำมันปาล์ม หรือจากแหล่งชีวภาพ (Bio Base)  เป็นนวัตกรรมใหม่ถูกคิดค้นขึ้นเป็นครั้งแรกในโลกโดย EA ซึ่งอยู่ในระหว่างการยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรในระดับโลก ปัจจุบัน ตลาด PCM โลก มีมูลค่าราว 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดว่าจะเพิ่มอีก 3 เท่าภายในอีก 5 ปี สำหรับโรงงานผลิต PCM ของ EA ตั้งอยู่ที่ จ. ระยอง มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 130 ตัน/วัน เริ่มผลิตเฟสแรกในไตรมาสที่ 2

โดยส่งออกจำหน่ายไปประเทศเยอรมนี และญี่ปุ่น ทั้งหมด เพื่อนำไปใช้ในการก่อสร้างอาคาร และที่อยู่อาศัย เป็นส่วนสำคัญในการอนุรักษ์พลังงาน ด้วยการรักษาอุณหภูมิและลดการใช้พลังงานไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความร้อนได้  ให้ภายในสิ้นปีนี้ สัดส่วนรายได้ของ PCM จะอยู่ที่ประมาณ 800 ล้านบาทคิดเป็น 3% ของรายได้รวมบริษัทฯ  สำหรับสายการผลิต PCM เฟสสองจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ และตั้งเป้าที่จะขยายกำลังการผลิตเป็น 1,000 ตัน/วันภายในอีก 5 ปี

นอกจากนี้ EA ยังพลิกโฉมอุตสาหกรรมปาล์มไทย ด้วยการเปิดตัวแอปพลิเคชัน ‘ปาล์มยั่งยืน’ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในโลก ที่มีการนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ประกอบการทำธุรกรรมซื้อขายปาล์ม โดยการลงทะเบียนบันทึกข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลการซื้อขาย และคุณภาพของวัตถุดิบ เพื่อใช้ตรวจสอบที่มาและบันทึกการทำธุรกรรมซื้อขายอย่างถูกต้อง และที่สำคัญสามารถปันผลประโยชน์ส่วนเพิ่มกลับมายังผู้ขายวัตถุดิบในแต่ละขั้นตอนได้หากวัตถุดิบนั้นมีคุณภาพดีจนสามารถนำไปผลิตสาร PCM ที่มีคุณภาพสูงได้ เป็นแรงผลักดันให้เกษตรกรผลิตวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ส่งเสริมให้การกำหนดราคาเป็นไปตามกลไกตลาดอย่างโปร่งใสเป็นธรรมสามารถตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอนและมีระบบการจ่ายผลตอบแทนที่สามารถจ่ายเงินให้กับเกษตรกรได้อย่างรวดเร็วด้วยวิธีการโอนเข้าบัญชีที่ได้ลงทะเบียนไว้

นอกจากนี้ด้วยระบบการบันทึกและตรวจสอบทุกขั้นตอนโดยใช้ Blockchain จึงเป็นการป้องกันการลักลอบนำปาล์มเถื่อนเข้ามาซื้อขายได้ อีกทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่นๆ ได้ด้วย

ภายในงานจัดแสดงนวัตกรรม PCM และ platform “ปาล์มยั่งยืน” โดยมี นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในงาน และนายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้เกียรติร่วมงาน พร้อมกล่าวถึง ยุทธศาสตร์ความร่วมมือของภาครัฐในการสนับสนุน และส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมไทยอย่างยั่งยืน

Back to top button