PTTGC จากกลางสู่ปลาย.!

ก่อนหน้านี้ เราเห็นแม่...บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT พยายามรุกเข้าสู่ธุรกิจนิวเทรนด์ อย่างธุรกิจทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจยา ธุรกิจ Nutrition ธุรกิจอุปกรณ์การแพทย์ เพื่อหวังสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน...


สำนักข่าวรัชดา

ก่อนหน้านี้ เราเห็นแม่…บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT พยายามรุกเข้าสู่ธุรกิจนิวเทรนด์ อย่างธุรกิจทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจยา ธุรกิจ Nutrition ธุรกิจอุปกรณ์การแพทย์ เพื่อหวังสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน…

ส่วนลูกคนโตอย่างบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP จากเดิมเป็นธุรกิจต้นน้ำ ในแง่ของการสำรวจขุดเจาะก๊าซและปิโตรเลียม ก็ขยับไปสู่กลางน้ำมากขึ้น เห็นได้ชัดจากกรณีต่อยอดก๊าซไปสู่โรงไฟฟ้า ด้วยการเตรียมทุ่มงบลงทุน 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 60,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโรงไฟฟ้า Gas to Power กำลังการผลิต 600 เมกะวัตต์ ในเมียนมา…

เมื่อแม่และลูกคนโตขยับกันแล้ว คราวนี้ก็มาถึงคิวลูกอีกคนของปตท. อย่างบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC ซึ่งเป็นกลางน้ำที่คาบเกี่ยวไปต้นน้ำ ทำธุรกิจปิโตรเคมีครบวงจร ครอบคลุมตั้งแต่การผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นปลาย ก็เริ่มขยับจากกลางไปสู่ปลายบ้าง

ล่าสุด PTTGC ประกาศเป้าหมายใหญ่การลงทุนในปีนี้ โดยเตรียม M&A หรือเข้าซื้อกิจการที่เป็นปลายน้ำ เช่น โรงงานเม็ดพลาสติก High Performance Product เป็นต้น

ต้องบอกว่า การก้าวเดินของ PTTGC จากกลางน้ำไปสู่ปลายน้ำครั้งนี้มีความน่าสนใจ…1) เป็นการตอบโจทย์การขยายกิจการ ไปสู่ตลาดใหม่ ๆ

และ 2) เป็นการบริหารความเสี่ยงของธุรกิจ…จากเดิม PTTGC จะขายสินค้าเป็นลักษณะโฮลเซล ขายเป็นล็อตใหญ่ ๆ ซึ่งข้อดี ขายต่อครั้งได้ปริมาณมาก แต่ข้อเสีย ราคาขายค่อนข้างถูก ทำให้มีมาร์จิ้นต่ำ ที่สำคัญไม่สามารถคอนโทรลราคาได้ ขึ้นอยู่กับวัฏจักรของตลาด

ทำให้บางปีมีกำไรดี๊ดี ถัดมาอีกปีกำไรลดฮวบฮาบ หรือบางปีพลิกมาขาดทุนซะงั้น…เป็นสิ่งที่ PTTGC เจอมาตลอดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

PTTGC รู้ดีถึงข้อจำกัดดังกล่าว จึงพยายามกำจัดจุดอ่อนด้วยการรุกไปสู่ปลายน้ำมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้าง

เป็นการต่อยอดไปสู่ปลายโปรดักส์ ซึ่งจะทำให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การทำขวดพลาสติก อย่างน้อยมาร์จิ้นก็สูงกว่าการขายเม็ดพลาสติก หรือกรณีแพ็กเกจจิ้ง กำลังเป็นที่ต้องการของตลาด แทนที่ PTTGC จะได้มาร์จิ้นสูง ๆ แต่ถ้าสเปรดปิโตรไม่ดี ก็จะมีมาร์จิ้นต่ำ ดังนั้น ถ้า PTTGC มีโรงงานทำแพ็กเกจจิ้งของตัวเอง จะทำให้มีมาร์จิ้นสูงขึ้น และเป็นการบริหารซัพพลายเชนได้ดีขึ้น

และ 2) ช่วยลดหย่อนความผันผวนของตลาด จะทำให้ตัวเลขรายได้และกำไรของ PTTGC มีความเสถียรมากขึ้น..!!

ก็ถือเป็นอีกก้าวย่างที่น่าสนใจของ PTTGC..!!

นี่แม่ทัพใหญ่อย่าง “คงกระพัน อินทรแจ้ง” ก็ออกมาคอนเฟิร์มว่า ไม่ช้าเกินรอภายในปีนี้น่าจะเห็นความชัดเจนของดีล M&A

แหม๊…ช่วงนี้มีหลายกิจการที่ได้รับผลกระทบจากโควิดเสียด้วยสิ ก็เป็นจังหวะให้บริษัทที่มีทุนหนาอย่าง PTTGC ไล่ช้อป “ของดี…ราคาถูก” เข้ามาเติมในพอร์ตได้ไม่ยาก

ว่าแต่หลังจากนี้ ลูกคนอื่น ๆ ของปตท. จะมีความเคลื่อนไหวอะไรอีกบ้างน้า…

เชื่อว่าทั้งบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP, บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC, บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC และบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR คงไม่น่าจะปล่อยให้แม่และสองพี่ใหญ่นำหน้าไปหลายขุมหรอกเนอะ…

…อิ อิ อิ…

Back to top button