เช็ก! กทม.ปรับค่าโดยสาร BTS “สายสีเขียว” ใหม่ ดีเดย์ใช้ 16 ก.พ.64

เช็ก! กทม.ปรับค่าโดยสาร BTS “สายสีเขียว” ใหม่ ดีเดย์ใช้ 16 ก.พ.64


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (15 ม.ค.64) กรุงเทพมหานคร(กทม.) ได้เผยแพร่ประกาศ กรุงเทพมหานคร ลงนามโดยพล...อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เรื่อง การกำหนดค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวโดยมีเนื้อหาดังนี้ ด้วยปัจจุบันกรุงเทพมหานครได้เปิดให้บริการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวแก่ประชาชน ตลอดแนวเส้นทาง และจะดำเนินการจัดเก็บค่าโดยสารโดยไม่มีการเก็บค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน อาศัยอำนาจตามข้อ 4 แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าบริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ..2552 จึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้

1.ยกเลิกประกาศกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2560 เรื่อง ค่าโดยสารโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ตอนที่ 1 (ชอยสุขุมวิท 85 ชอยสุขุมวิท 107 ระยะทาง 5.25 กิโลเมตร และส่วนต่อขยายสายสีลม ตอนที่ 2 (ตากสินเพชรเกษม) ระยะทาง 6.3 กิโลเมตร

2.ในประกาศนี้ กำหนดดังนี้

(1) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิตสะพานใหม่คูคต หมายถึง โครงการรถไฟฟ้า สายสีเขียว จากสถานีห้าแยกลาดพร้าว (N9) ถึงสถานีคูคต (N24) จำนวน 16 สถานี

(2) โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร หมายถึง โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ตามแนวเส้นทางสัมปทานแบ่งเป็นสายสุขุมวิท 17 สถานี จากสถานีอ่อนนุช (E9) ถึงสถานีหมอชิต (N8) และสายสีลม จำนวน 6 สถานี จากสถานีสนามกีฬาแห่ชาติ (W1) ถึงสถานีสะพานตากสิน (S6) รวมจำนวน 23 สถานี

(3) โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ส่วนต่อขยายสายสีลม ช่วงที่ 1 หมายถึงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายสายสีลม ระยะทาง 2.2 กิโลเมตร จากสถานีกรุงธนบุรี (S7) ถึงสถานีวงเวียนใหญ่ (8) จำนวน 2 สถานี

(4) โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท หมายถึง โครงการรถไฟฟ้าสายสีขียวส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ระยะทาง 5.25 กิโลเมตร จากสถานีบางจาก (E10) ถึงสถานีแบริ่ง (E14) จำนวน 5สถานี

(5) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่งสมุทรปราการ หมายถึง โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว จากสถานีสำโรง(E15) ถึงสถานีเคหะสมุทรปราการ (E23) จำนวน 9 สถานี

(6) โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ส่วนต่อขยายสายสีลม ช่วงที่ 2 หมายถึง โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายสายสีลม ระยะทาง 5.3 กิโลเมตร จากสถานีโพธิ์นิมิตร (S9) ถึงสถานีบางหว้า (S12) จำนวน 4 สถานี

3.ให้จัดเก็บค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ดังนี้

(1) ค่าโดยสารในเส้นทาง ตามข้อ 2(1) กำหนดในอัตรา 15-45 บาท (ปรับเพิ่มขึ้น 3 บาท/สถานี)

(2) ค่าโดยสารในเส้นทาง ตามข้อ 2(2) และข้อ 2(3) เป็นไปตามตารางค่าโดยสาร ที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด(มหาชน) กำหนด

(3) ค่าโดยสารในเส้นทาง ตามข้อ 2(4) และข้อ 2(5) กำหนดในอัตรา 15-45 บาท (ปรับเพิ่มขึ้น 3 บาท/สถานี)

(4) ค่าโดยสารในเส้นทาง ตามข้อ 2 (6) กำหนดในอัตรา 15-24 บาท (ปรับเพิ่มขึ้น 3 บาท/สถานี

การจัดเก็บค่าโดยสารแรกเข้าตามข้อ 3 (1) ถึง 3(4) ให้จัดเก็บเพียงครั้งเดียว และให้จัดเก็บ อัตราค่าโดยสารตลอดเส้นทางไม่เกิน 104 บาท ตามตารางแนบท้ายประกาศนี้ ตั้งแต่วัน 16 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป

นอกจากนี้ กทม.ยังได้ออกคำชี้แจงของต่อการปรับอัตราค่าโดยสารของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งหมด ดังนี้ สืบเนื่องจากการเปิดให้บริการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงแบริ่งสมุทรปราการ และหมอชิตสะพานใหม่คูคตที่ทยอยเปิดให้บริการเดินรถตั้งแต่วันที่เมษายน 2561 และเปิดให้บริการเดินรถเต็มทั้งระบบ ในวันที่ 16 ธันวาคม 2563 โดยในช่วงทดลองให้บริการซึ่งยังไม่มีการเดินรถเต็มรูปแบบไม่มีการเรียกเก็บค่าโดยสารจากผู้ใช้บริการเป็นระยะเวลาเกือบ 3 ปีมาแล้ว เนื่องจาก กทม.ต้องการลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน

บัดนี้เมื่อมีการเปิดให้บริการเดินรถเต็มทั้งระบบแล้ว ประกอบกับ กทม.มีภาระค่าใช้จ่ายในการเดิน รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเริ่มเรียกเก็บค่าโดยสารจากผู้ใช้บริการในส่วนต่อขยายสายสีเขียวตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 โดยผู้ใช้บริการในส่วนหลัก ช่วงหมอชิตอ่อนนุช จะไม่ได้รับผลกระทบยังคงเสียค่าโดยสารในอัตราเดิม และจะไม่มีการเรียกเก็บค่าแรกเข้าซ้ำซ้อนกันระหว่างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนหลัก(หมอชิตอ่อนนุช และสะพานตากสินสนามกีฬาแห่งชาติ) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย (ช่วงสะพานตากสินบางหว้า และอ่อนนุชแบริ่ง และช่วงแบริ่งสมุทรปราการ และหมอชิตสะพานใหม่คูคต) โดยประชาชนจะจ่ายค่าแรกเข้าสำหรับการใช้บริการโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเพียงครั้งเดียวต่อรอบ ปรากฏตามตารางด้านล่างนี้

161072115691.jpg

ทั้งนี้ อัตราค่าโดยสารของโครงการสายสีเขียวสูงสุดตลอดสายจะอยู่ที่ 158 บาท แต่เพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 กทม.จะปรับอัตราค่าโดยสารสูงสุดตลอดสายอยู่ที่ 104 บาท ซึ่ง กทม.จะมีผลขาดทุนจากการดำเนินการส่วนต่อขยายประมาณปีละ 3,000-4,000 ล้านบาทเมื่อนับรวมตั้งแต่ปี2564 จนถึงปี 2572 จะมีผลขาดทุนถึงประมาณ 30,000-40,000 ล้านบาท รายละเอียดปรากฏตามตารางเปรียบเทียบด้านล่างนี้

161072120669.jpg

ตลอดเวลาที่ผ่านมา กทม.ได้ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนจากการปรับอัตราค่าโดยสารของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยกทม.ได้พยายามหาทางแก้ไข รวมถึงศึกษาแนวทางการดำเนินการต่างๆ ซึ่ง กทม.เห็นว่าแนวทางการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (Public-Private Partnership: PPP) เป็นแนวทาง ที่เหมาะสมและดีที่สุดในการที่จะมาแก้ปัญหาของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยจะให้เอกชนเข้ามารับภาระหนี้สินของ กทม.เพื่อที่จะทำให้กทม.สามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารที่ไม่เป็นภาระต่อประชาชนจนเกินสมควร และจะทำให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณะที่ปลอดภัย สะดวก และมีประสิทธิภาพอยู่เหมือนเดิม

โดยในปัจจุบันนี้ กทม.อยู่ระหว่างการนำเสนอแก้ไขสัญญาสัมปทานต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ซึ่งหากมีการเห็นชอบแล้ว การแก้ไขสัญญาสัมปทานนี้จะช่วยลดอัตราค่าโดยสารสูงสุดจาก 104 บาท เป็น 65 บาท ลดลง 39 บาท และแก้ไขภาระหนี้สินกว่า 120,000 ล้านบาทของ กทม.ได้ ซึ่งประกอบด้วย ภาระหนี้สินเดิมที่เกิดขึ้นจากการรับโอนโครงการส่วนต่อขยายที่ 2 ทั้งในส่วนเงินต้นค่างานโยธาที่ประมาณ 55,000 ล้านบาทและภาระดอกเบี้ยในอนาคตอีกประมาณ 10,000 ล้านบาท ค่าลงทุนในงานระบบ (E&M) ในส่วนต่อขยายที่ 2 ประมาณ 20,000 ล้านบาท ภาระหนี้ค่าจ้างงานเดินรถค้างจ่ายอีกประมาณ 9,000 ล้านบาท และภาระผลขาดทุนจากการดำเนินการส่วนต่อขยายตั้งแต่ปี 2564 จนถึงปี 2572 รวมอีกประมาณ 30,000-40,000 ล้านบาท นอกจากนี้ เอกชนยังต้องแบ่งส่วนแบ่งรายได้ค่าโดยสารหลังปี 2572 ให้ กทม.อีกกว่า 200,000 ล้านบาท และมีส่วนแบ่งเพิ่มเติมในกรณีที่ผลประกอบการจริงดีกว่าที่คาดการณ์ตอนเจรจา

กทม.ยืนยันว่า ภายใต้อำนาจของ กทม.จะพยายามแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอย่างดีที่สุดเพื่อให้ลดผลกระทบและความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้มากที่สุด โดย กทม.จะอธิบายถึงเหตุผลความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับจากการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนต่อรัฐบาล เพื่อที่จะให้สามารถปรับอัตราค่าโดยสารให้ค่าโดยสารของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวตลอดสายลดลงมาเหลือ 65 บาทโดยเร็วที่สุด

Back to top button