5 หุ้นน่าเก็งกำไร รับธีม “คาร์บอนด์เครดิต”

คัด 5 หุ้นดาวเด่น "คาร์บอนด์เครดิต" DITTO, WHA, GUNKUL, PTTEP และ BRR จับตากำไรทะยานแรง


บริษัทหลักทรัพย์บัวหลวง จำกัด จัดงาน BLS Carbon Credit เปิดเวทีเสวนาการดำเนินการปรับตัวให้เข้ากับเทรนด์โลกสีเขียว เพื่อการรับมือกับภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง โดยได้รับเกียรติจากผู้บริหาร 5 บริษัทจดทะเบียนจาก 5 อุตสาหกรรมที่ต่างกัน ได้แก่ บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ WHA (นิคมอุตสาหกรรม), บริษัท น้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BRR (เกษตร), บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKUL (โรงไฟฟ้า), บริษัท ดิทโต้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ DITTO (เทคโนโลยี) และ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP (พลังงาน)

รวมถึง 3 ผู้บริหารจากสามหน่วยงานของรัฐ ได้แก่ คุณโสภณ ทองดี (อดีตอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง), ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช (เลขาธิการสานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) และคุณเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ (ผู้อานวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก) ได้เข้าร่วมงาน BLS Carbon Credit ของ บล.บัวหลวง

สำหรับความร่วมมือระดับบุคคล ภาคธุรกิจ และรัฐบาลกำลังเร่งดำเนินการเพื่อปรับตัวให้เข้ากับเทรนด์โลกสีเขียว แม้ว่าเป้าหมายที่ยั่งยืนจะยังคงห่างไกล แต่ไม่ใช่เวลาที่จะมาสิ้นหวัง เพราะประเด็นนี้กลับสามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆสำหรับบริษัทในหลายๆ อุตสาหกรรมในหลายประเทศ บางธุรกิจสามารถสร้างผลตอบแทนทางการเงินอย่างชัดเจนจากการเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงไปสู่อีกรุ่นสำหรับหนทางใหม่ในการขับเคลื่อนโลก

ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยบล.บัวหลวง มองว่า 5 หุ้นดังกล่าวข้างต้นมีโอกาสที่จะได้รับอานิสงส์จากประเด็นคาร์บอนเครดิต โดย BRR มีกำไรจากธุรกิจหลักที่แข็งแกร่งรวมถึงธุรกิจ S-curve (บรรจุภัณฑ์) และธุรกิจใหม่ (เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด) จะเป็นอัพไซด์ต่อคาร์บอนเครดิต นับเป็นหุ้นที่เกาะไปกับธีมคาร์บอนเครดิตได้

ส่วน DITTO นั้นไม่ใช่เพียงแค่สตอรี่เดียวที่หนุนการเติบโต แต่มีโอกาสอีกมากจากเมกะเทรนด์โลก โดยธุรกิจสีเขียวเป็นเส้นทางใหม่และสร้างเป้าหมายใหม่ของบริษัท ซึ่งการปลูกป่าเป็นการสร้างคาร์บอนเครดิตที่มีราคาสูงที่สุดและกระบวนการสร้างประสิทธิภาพมากที่สุด ประเมินอัพไซด์ของกำไรส่วนเพิ่มมากกว่า 50% จึงแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 90 บาท

โดย DITTO ได้ส่งบ.สยาม ทีซี เทคโนโลยี ซึ่งเป็นบริษัทย่อยได้รับใบอนุญาตให้เข้าไปดูแลรักษาป่าชายเลน 11,448.3 ไร่เป็นเวลา 30 ปี เพื่อใช้ประโยชน์ทางคาร์บอนเครดิต และบริษัทจะไปเจรจากับชุมชนบริเวณที่ได้สิทธิ์ในการปลูกป่าเพื่อจะเข้ามาร่วมลงทุนและช่วยบริหารจัดการซึ่งทางบริษัทตั้งเป้าปลูกป่าถึง 1 แสนไร่

สำหรับสาเหตุที่ทำให้บริษัทฯ สนใจธุรกิจนี้สืบเนื่องมาจาก ก่อนหน้านี้มีการดำเนินธุรกิจที่ช่วยเรื่องลดโลกร้อน ทั้งธุรกิจบริหารจัดการเอกสารและข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล “Data & Document Management Solutions” ซึ่งมีส่วนช่วยลดการใช้กระดาษ ทำให้ลดการตัดต้นไม้ลงได้ ซึ่งการลดการใช้กระดาษสามารถนำไปคำนวณคาร์บอนเครดิตได้

ด้าน GUNKUL สถานะทางการเงินและคู่ค้าที่แข็งแกร่งหนุนโอกาสการสร้างคาร์บอนเครดิตจากโรงไฟฟ้าพลังงานลมและแสงอาทิตย์ แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 6.80 บาท

ขณะที่ PTTEP ผู้บุกเบิกโครงการ CCS ของประเทศไทย มีโอกาสการเติบโตที่สำคัญจากทั้ง CCS และตลาดคาร์บอนเครดิต จึงแนะนำ “ซื้อ” ที่ราคาเป้าหมาย 200 บาท

ส่วน WHA ผู้นำธุรกิจสีเขียวตั้งแต่ต้นน้ำ เน้นการสร้างคาร์บอนเครดิตจากแผงโซล่าเซลล์และเทคโนโลยี CCUS จึงยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 4.20 บาท

Back to top button