
รัฐบาลปลื้ม! โพลผลงานรอบ 6 เดือน ปชช.ชื่นชอบ “30 บาท รักษาทุกที่”
จิรายุ ห่วงทรัพย์ เปิดผลสำรวจผลงานรัฐบาลรอบ 6 เดือน พบประชาชนตอบรับนโยบาย 30 บาท รักษาทุกที่ กว่าร้อยละ 72% ฟากรัฐเร่งโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง
ผู้สื่อข่าวรายงาน (8 พ.ค. 68) นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการบริหารงานของรัฐบาลในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนในทุกจังหวัดทั่วประเทศ สำหรับประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
ผลสำรวจพบว่า 5 นโยบายและโครงการที่ประชาชนให้ความพึงพอใจสูงสุด ได้แก่ 1.นโยบาย 30 บาท รักษาทุกที่ (ร้อยละ 71.6), 2.โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ เงินหมื่น (ร้อยละ 55.8), 3.กฎหมายสมรสเท่าเทียม (ร้อยละ 41.3), 4.การลดภาระค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าและพลังงาน (ร้อยละ 32.6) และ 5.การส่งเสริมการท่องเที่ยว (ร้อยละ 30.3) จากผลสำรวจนี้ สะท้อนให้เห็นถึงการรับรู้และการยอมรับจากประชาชนต่อมาตรการของรัฐบาลในหลายด้าน
โฆษกรัฐบาลเปิดเผยว่า ผลการสำรวจความพึงพอใจต่อผลงานรัฐบาลเมื่อจำแนกตามภูมิภาค พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสัดส่วนความพึงพอใจสูงสุดที่ร้อยละ 40.1 ตามมาด้วยภาคเหนือที่ร้อยละ 28.5, ภาคกลางร้อยละ 24.7, ภาคใต้ร้อยละ 20.1 และกรุงเทพมหานครร้อยละ 14.7
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มอายุ พบว่า กลุ่มประชาชนอายุ 60 ปีขึ้นไปมีความพึงพอใจสูงสุดในระดับมากถึงมากที่สุด โดยมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 31.5 ซึ่งสูงกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ
“ในส่วนของการให้บริการของภาครัฐยังพบว่า ประชาชนมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของภาครัฐในระดับมาก – มากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ไฟฟ้าร้อยละ 66 น้ำประปา ร้อยละ 59.7 ถนนหนทาง ร้อยละ 55.1 การบริการสาธารณสุข ร้อยละ 52.2 และการจัดเก็บขยะมูลฝอย ร้อยละ 46.4″ นายจิรายุ กล่าว
นายจิรายุ กล่าวต่อว่า จากผลสำรวจพบเรื่องที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือเร่งด่วน 5 อันดับแรก ได้แก่ การควบคุมราคาสินค้าอุปโภค -บริโภคร้อยละ 86.7 รองลงมาได้แก่ ลดภาระค่าใช้จ่าย ด้านพลังงาน เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา น้ำมันเชื้อเชื้อเพลิง อยากให้ทำต่อเนื่อง ร้อยละ 67.5 การแก้ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 43.0 การแก้ปัญหาหนี้สิน ร้อยละ 35.5 และเพิ่มสวัสดิการเช่น เงินผู้มีรายได้น้อย การรักษาพยาบาลการศึกษา ร้อยละ 30.3 สำหรับในช่องทางที่ประชาชนสนใจติดตาม รับรู้ มากที่สุดยังเป็นทางโทรทัศน์ ร้อยละ 68.4 รองลงมาได้แก่ สื่อสังคมออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ ติ๊กต๊อก อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ ร้อยละ 59.6 และญาติหรือคนรู้จัก ร้อยละ 16.9
นายจิรายุ กล่าวว่า จากผลสำรวจพบว่า ประชาชนต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือเร่งด่วนใน 5 เรื่องสำคัญ ได้แก่ 1.การควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภค (ร้อยละ 86.7), 2.การลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา น้ำมันเชื้อเพลิง และอยากให้ดำเนินการต่อเนื่อง (ร้อยละ 67.5), 3.การแก้ปัญหายาเสพติด (ร้อยละ 43.0), 4.การแก้ปัญหาหนี้สิน (ร้อยละ 35.5) และ 5.การเพิ่มสวัสดิการ เช่น เงินช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย การรักษาพยาบาล และการศึกษา (ร้อยละ 30.3)
ส่วนช่องทางที่ประชาชนสนใจติดตามข่าวสารมากที่สุด ได้แก่ 1.โทรทัศน์ (ร้อยละ 68.4), 2.สื่อสังคมออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ ติ๊กต๊อก อินสตาแกรม และทวิตเตอร์ (ร้อยละ 59.6) และ 3.ญาติหรือคนรู้จัก (ร้อยละ 16.9)
นายจิรายุ กล่าวถึงผลการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร (ครม.สัญจร) เมื่อวันที่ 29 เมษายน ที่ผ่านมา ที่จังหวัดนครพนม โดยสำนักงานสถิติฯ รายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานตามนโยบายที่นายกรัฐมนตรีได้แถลงไว้ ซึ่งรวมถึงหลายโครงการสำคัญ เช่น 1.โครงการคุณสู้ เราช่วย เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย โดยตั้งแต่วันที่ 12 ธ.ค. 67 – 18 มี.ค. 68 มีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการแล้ว 1.3 ล้านบัญชี, 2.โครงการท่าวังผาโมเดลและธวัชบุรีโมเดล ในการแก้ปัญหายาเสพติด ซึ่งมุ่งเน้นการค้นหาผู้เสพยาเสพติด (Re X-Ray) โดยดำเนินการได้แล้ว 1,066,407 ราย จากเป้าหมาย 4,112,206 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 17 ก.พ. 68)
3.โครงการบ้านเพื่อคนไทย ซึ่งมีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วม 250,033 ราย และผ่านเกณฑ์คุณสมบัติการกู้สินเชื่อ (Pre-Approve) จำนวน 135,678 คน คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 68 และสามารถเข้าอยู่อาศัยได้ในปี 70 ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานตามนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญในการช่วยเหลือประชาชนในหลายด้าน