เปิด 3 หุ้นแบงก์พื้นฐานสุดปึ๊กไม่หวั่นเศรษฐกิจฟุบ-NPL เพิ่ม

จัดทัพ 3 หุ้นแบงก์ทางเลือก KKP-TISCO-TCAP ไม่แคร์เศรษฐกิจซบเซา แถมไม่หวั่น NPL ไตรมาส 2 พุ่งกระฉูด เหตุกันสำรองไว้ค่อนข้างสูง บวกสถิติเก่ายันพ้นจุดต่ำสุดมาแล้ว ต่อจากนี้ บอกได้คำเดียว “มีแต่ลุยกับลุยเท่านั้น”


จัดทัพ 3 หุ้นแบงก์ทางเลือก KKP-TISCO-TCAP ไม่แคร์เศรษฐกิจซบเซา แถมไม่หวั่น NPL ไตรมาส 2 พุ่งกระฉูด เหตุกันสำรองไว้ค่อนข้างสูง บวกสถิติเก่ายันพ้นจุดต่ำสุดมาแล้ว ต่อจากนี้ บอกได้คำเดียว “มีแต่ลุยกับลุยเท่านั้น”

บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) ระบุว่า จากการจำลองสถานการณ์  “หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้” หรือ NPL ในช่วงไตรมาส 2 ปีนี้ (2558) ของธนาคารพาณิชย์ 9 แห่ง มีสัดส่วนสูงเท่ากับระดับที่เคยเกิดขึ้นในช่วงวิกฤต Sub-prime เมื่อปี 2552 (สมมุติเป็นกรณีที่แย่ที่สุด) พบว่า มีธนาคาร 6 แห่งที่มีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบต่อมูลค่าทางบัญชีเป็นอย่างมาก ขณะที่ธนาคารอีก 3 แห่ง ถือว่าได้ผ่านพ้นช่วงวิกฤตสินเชื่อไปแล้ว เมื่อไตรมาส 1 ที่ผ่านมา

 

โดยธนาคารแห่งแรกที่ถูกยกให้รอดพ้นจากวิกฤตสินเชื่อไม่ก่อให้เกิดรายได้ได้แก่ ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) หรือ KKP โดยช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 รายงาน NPL จำนวนทั้งสิ้น 1.02 หมื่นล้านบาท หรือราว 5.60% ของสินเชื่อรวม ขณะที่ไตรมาส 1 ปีนี้ รายงานNPLดังกล่าวอยู่ที่ 1.19 หมื่นล้านบาท หรือราว 6.50% ของสินเชื่อรวม ดังนั้นหากนำตัวเลขดังกล่าวมาเปรียบเทียบกัน จะเห็นได้ว่า สถานการณ์ NPL ในไตรมาส 2 ของธนาคารจะไม่แย่ไปมากกว่านี้ อีกทั้งยังมีแนวโน้มเป็นบวกต่อมูลค่าทางบัญชีของธนาคารได้อีกราว 4.40%

ธนาคารแห่งที่สอง ได้แก่ บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TISCO โดยช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 รายงาน NPL จำนวนทั้งสิ้น 6.30 พันล้านบาท หรือราว 2.50% ของสินเชื่อรวม ขณะที่ไตรมาส 1 ปีนี้ รายงานNPLดังกล่าวอยู่ที่ 6.60 พันล้านบาท หรือราว 2.70% ของสินเชื่อรวม ดังนั้นเมื่อนำตัวเลขล่าสุดไปเปรียบเทียบกับตัวเลขในกรณีที่แย่ที่สุด จะเห็นได้ว่า ธนาคารได้ผ่านช่วงตกต่ำที่สุดมาแล้ว โดยสถานการณ์ NPL ในไตรมาส 2 มีแนวโน้มที่จะส่งผลบวกต่อมูลค่าทางบัญชีได้อีกราว 1.40%

ธนาคารแห่งที่สาม ได้แก่ บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TCAP โดยช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 รายงาน NPL จำนวนทั้งสิ้น 3.08 หมื่นล้านบาท หรือราว 4.40% ของสินเชื่อรวม ขณะที่ไตรมาส 1 ปีนี้ รายงานNPLดังกล่าวอยู่ที่ 2.85 หมื่นล้านบาท หรือราว 4.10% ของสินเชื่อรวม ซึ่งจากตัวเลขดังกล่าว เห็นได้ว่า NPL ในไตรมาส 2 มีโอกาสจะสามารถปรับตัวขึ้นได้เล็กน้อย โดยยังคงมีอัพไซด์อยู่ที่ราว 2.30% หรือมีโอกาสจะส่งผลกระทบต่อมูลค่าทางบัญชีของธนาคารได้ราว 4.30%

 

ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ได้นำตัวเลข NPL จากไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 หรือช่วงแย่ที่สุดของวิกฤต Sub-prime มาตั้งเป็นสมมติฐานสำหรับกรณีเลวร้ายที่สุด เพื่อศึกษาถึงผลกระทบจาก หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ที่จะมีต่อมูลค่าทางบัญชีของธนาคารทั้ง 9 แห่ง แต่อย่างไรก็ตามตัวเลข NPL ในไตรมาส 2 ไม่น่าจะออกมาเลวร้ายเท่ากับตัวเลขในช่วงดังกล่าว ที่นำมาเปรียบเทียบ                    

สำหรับธนาคารที่จะได้รับผลกระทบต่อมูลค่าทางบัญชี จากสมมติฐานดังกล่าวมากที่สุด หากเรียงจากมากไปหาน้อย ประกอบไปด้วย TMB-BAY-KTB-SCB-BBL-KBANK โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากตารางประกอบด้านล่าง

 

 

 

Back to top button