คัดหุ้นเด่น! รับอานิสงส์บริโภคภายในปท.-ปันผลสูง

เบื้องต้นตลาดหุ้นไทยยังมีสัญญาณของการปรับตัวขึ้นในช่วงเดือนมกราคม 2565  เนื่องจากยังคงเห็นสัญญาณที่ดีต่อเนื่องในส่วนของ Fund flow ไหลเข้า


เส้นทางนักลงทุน

เบื้องต้นตลาดหุ้นไทยยังมีสัญญาณของการปรับตัวขึ้นในช่วงเดือนมกราคม 2565  เนื่องจากยังคงเห็นสัญญาณที่ดีต่อเนื่องในส่วนของ Fund flow ไหลเข้า เนื่องจากหากย้อนกลับไปดูนักลงทุนต่างชาติทยอยเข้ามาซื้อหุ้นไทยติดต่อกันจากช่วงท้ายปี 2564 จนถึงวันที่ 6 ม.ค. 2564 เป็นการซื้อ 10 วันติดต่อกัน ด้วยยอดซื้อสุทธิสะสม  32,437.70 ล้านบาท แม้นักลงทุนสถาบันยังคงเป็นฝ่ายผู้ขายสุทธิอยู่ก็ตาม อย่างไรก็ตาม แต่ดูเหมือนว่าจะไม่สามารถกดดันตลาดได้แต่อย่างใด

ทั้งนี้หากนักลงทุนสถาบันในประเทศ (กองทุน) กลุ่มนี้เริ่มกลับมาซื้อหุ้นคืนในช่วงถัดไปตามที่หลายฝ่ายคาดไว้ ผนวกกับนักลงทุนต่างชาติที่ยังคงซื้อสุทธิต่อเนื่อง มองจะยังเป็นแรงส่งให้กับ SET Index ปรับตัวขึ้นไปอีก

อย่างไรก็ดีเมื่อสถานการณ์ตลาดหุ้นยังสดใสไปในทิศทางบวก ขอหยิบยกบทวิเคราะห์จาก บล.ทรีนีตี้  แนะธีมการลงทุน โดยยังคงแนะนำถือครอง 2 กลุ่มหุ้นสำคัญเพื่อ Let profit run ต่อไป ได้แก่

1) กลุ่มหุ้นที่อิงกับการบริโภคภายในประเทศ ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANKธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL, บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BJC, บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL, บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ HMPRO, บริษัท ดูโฮม จำกัด (มหาชน) หรือ  DOHOME, บริษัท คอมเซเว่น จำกัด (มหาชน) หรือ COM7, บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ M, บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI,

บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) หรือ SPALI, บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRI, บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEMบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS, บริษัท แพลน บี มีเดีย จำกัด (มหาชน) หรือ PLANB, บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) หรือ MAJOR  และบริษัท วีจีไอ จำกัด (มหาชน) หรือ VGI เป็นต้น

สำหรับหุ้นข้างต้นโดยมีหุ้นในกลุ่มที่ยังคงปรับตัว Laggard ทั้งในแง่ของ Price performance และ Valuation ได้แก่ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BJC,  บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL, ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK และ บริษัท ดูโฮม จำกัด (มหาชน) หรือ  DOHOME

2) กลุ่มหุ้นปันผลสูงที่มีความเชื่อมั่นเกินกว่า 80% ว่าจะให้ผลตอบแทน Total return เป็นบวกในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2565 ได้แก่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC, บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TISCO, บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หรือ AP, บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC, บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT,

บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ INTUCH, ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL, บริษัท แลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LH, บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKUL, บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP, บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRI, บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SENA,

บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SC, บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) หรือ MAJOR, บริษัท ไทยออพติคอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)  หรือ TOG, บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ PSH

โดยในกลุ่มนี้มี ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL, บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRI, บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SC, บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) หรือ MAJOR ที่ยังคง Laggard ทั้งในแง่ของ Price performance และ Valuation

ทั้งนี้จากกลุ่มหุ้นสำคัญทั้ง 2 กลุ่ม หุ้นดาวเด่นชอบ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL นอกจากจะเป็นธนาคารที่มีสินทรัพย์มากที่สุดในไทยแล้ว โดยช่วงไตรมาส 3 ปี 2564 มีสินทรัพย์ทังสิ้น 4.3 ล้านล้านบาท ยังเป็นธนาคารที่มีความโดดเด่นทางด้านสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ และสินเชื่อต่างประเทศ โดยสินเชื่อขนาดใหญ่คิดเป็น 41% ของสินเชื่อทั้งหมด  ส่วนสินเชื่อต่างประเทศคิดเป็น 26% ของสินเชื่อทั้งหมด โดยสินเชื่อต่างประเทศนี้ได้รวมสินเชื่อจาก Permata ของอินโดนีเซียที่ BBL ได้เข้าซื้อกิจการมาด้วย โดยเมื่อรวมสินเชื่อทั้ง 2 ประเภทนี้จะมีสัดส่วนถึง 67% ของสินเชื่อทั้งหมด

ทำให้ BBL เป็นเจ้าตลาดของสินเชื่อทั้ง 2 ประเภทนี้ สินเชื่อรายใหญ่นั้นถึงแม้ว่าจะมีผลตอบแทนที่ตํ่ากว่าสินเชื่อ SME และสินเชื่อรายย่อย แต่ก็มีความเสี่ยงตํ่ากว่า เนื่องจากธุรกิจขนาดใหญ่จะมีความแข็งแกร่งกว่า SME และรายย่อย ทำให้เป็น NPL ยากกว่า

ขณะที่ บล.ฟิลลิป คาด BBL จะมีกําไรไตรมาส 4 ปี 2564 อยู่ที่ 5.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 143.3% จากงวดเดียวกันของปีก่อน จากรายได้ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อ นอกจากนี้คาดรายได้ค่าธรรมเนียมจะเพิ่มสูงขึ้น รวมไปถึงค่าใช้จ่ายจะปรับลดลงมากด้วย

พร้อมคาดว่า BBL จะมีกําไรปี 2564 อยู่ที่ 28 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 51.4% จากงวดเดียวกันของปีก่อน จากรายได้ค่าธรรมเนียม รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยอื่นเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกําไรจากเงินลงทุน และการลดลงของทั้งค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย และค่าใช้จ่าย ถึงแม้ว่าการตั้งสำรองในปีนี้จะเพิ่มสูงขึ้นก็ตาม

อีกทั้งยังคงประมาณการกําไรปี 2565 ของ BBL ไว้ที่ 31 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.5% จากงวดเดียวกันของปีก่อน โดยสินเชื่อที่เติบโตต่อจากทั้งสินเชื่อรายใหญ่ และสินเชื่อต่างประเทศจะทำให้รายได้เพิ่มขึ้น รวมไปถึงสํารองที่มีอยู่อย่างเพียงพอแล้วจะทำให้ BBL สามารถลดระดับการตั้งสำรองในปี 2565 ลงได้อีก และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คาดว่ากำไรจะเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นยังคงราคาพื้นฐานของ BBL ไว้ที่ 159 บาท คงคำแนะนำ “ซื้อ”

ดังนั้นจากสัญญาณที่ดีต่อเนื่องในส่วนของ Fund flow ยังคงไหลเข้า โดยเฉพาะหุ้นขนาดใหญ่ และหุ้นยังได้ประโยชน์จากสิ่งต่าง ๆ อย่างหุ้นปันผลสูง และอิงกับการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งจากหุ้นตัวอย่างอาจเป็นทางเลือกของการลงทุนในช่วงไตรมาสแรก

Back to top button