PPPM หุ้นกู้สยองขวัญ.!!

การผิดนัดชำระหุ้นกู้มูลค่า 1,121 ล้านบาทของบริษัท พีพี ไพร์ม จำกัด (มหาชน) หรือ PPPM (เดิมชื่อบริษัท ไทยลักซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน)) สั่นสะเทือน “ตลาดหุ้นกู้” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้..เช่นเดียวกรณีบริษัท เอ็นเนอร์ยี่ เอิร์ธ จำกัด (มหาชน) หรือ EARTH  หรืออย่างกรณีบริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ IFEC ที่กลายเป็นบทเรียนที่ลืมไม่ลงกันมาแล้ว..!?


สำนักข่าวรัชดา

การผิดนัดชำระหุ้นกู้มูลค่า 1,121 ล้านบาทของบริษัท พีพี ไพร์ม จำกัด (มหาชน) หรือ PPPM (เดิมชื่อบริษัท ไทยลักซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน)) สั่นสะเทือน “ตลาดหุ้นกู้” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้..เช่นเดียวกรณีบริษัท เอ็นเนอร์ยี่ เอิร์ธ จำกัด (มหาชน) หรือ EARTH  หรืออย่างกรณีบริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ IFEC ที่กลายเป็นบทเรียนที่ลืมไม่ลงกันมาแล้ว..!?

กรณี PPPM เริ่มต้นจากการผิดนัดชำระหุ้นกู้ 2 รุ่น มูลค่ารวม 580 ล้านบาท ส่งผลให้หุ้นกู้อีก 3 รุ่นเข้าข่ายถูกเรียกชำระหุ้นกู้โดยให้ถึงกำหนดชำระก่อนกำหนด (Cross default) รวมเป็นหุ้นกู้ทั้งหมด 5 รุ่น ที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย มีมูลค่ารวม 1,121.60 ล้านบาท คิดเป็น 35% ของสินทรัพย์รวมตามงบการเงินสิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค. 62

โดยหุ้นกู้ที่ default & cross default ทั้งหมด เสนอขายแก่นักลงทุนบุคคลรายใหญ่ (HNW) และนักลงทุนสถาบันตามหน้าตั๋วกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ช่วง 6.25-8.50% ต่อปี ที่สำคัญหุ้นกู้ทั้งหมด ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Non-rated)

จากเหตุการณ์การผิดนัดชำระดังกล่าว ทำให้อัตราดอกเบี้ยที่ผู้ลงทุนจะได้รับเพิ่มขึ้นเป็นอัตราผิดนัด (default rate)กรณี PPPM ต้องบวกเพิ่มอีก 2% จากดอกเบี้ยปกติ กลายเป็น 8.25-10.50% ต่อปี

ปัญหาอยู่ที่ปัจจุบัน PPPM ไม่ยังสามารถชำระหนี้ได้ ดอกเบี้ยผิดนัด จึงเป็นการบันทึกรอไว้ ถ้ามีความสามารถจ่ายคืนเมื่อไร นักลงทุนถึงจะได้เงินสดกลับคืนไป

ล่าสุด PPPM แจ้งว่ามีการแต่งตั้งบริษัทที่ปรึกษาเข้ามาช่วยทำแผน “ขยายระยะเวลาการชำระหนี้” มีกำหนดแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนส.ค. 62

การ default & cross default ยังไม่ได้แปลว่าเงินลงทุนสูญไปทั้งหมด เพียงแต่ไม่ได้คืนตามกำหนดเดิมและยังไม่รู้ว่าจะได้คืนเมื่อไร..!?

กรณีเลวร้ายสุด คือไม่สามารถชำระหนี้ได้แน่นอนหรือกลายเป็นมีหนี้สินล้นพ้นตัว อาจต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ผลพวงที่ตามมา อาจมีการขอลดหนี้ (hair cut) การขอหยุดคิดดอกเบี้ย การขอแปลงหนี้เป็นทุน เพื่อให้บริษัทกลับมาดำเนินธุรกิจต่อได้

หากเป็นเช่นนั้นจริง.! กระบวนการต่าง ๆ ต้องใช้เวลานานหลายปีเลยทีเดียว

บทเรียน (อีก) ครั้งนี้..จึงสอนให้รู้ว่า อย่าหวังเพียงแค่ดอกเบี้ยสูง..แต่ต้องดูว่าใครเป็นคนออกด้วย..

ยิ่งให้ดีกว่านั้นคือผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นใครด้วย..!??

….อิ..อิ..อิ….

Back to top button