ลุ้น PACO เทรดวันแรกพุ่งกระฉูดเกิน 1.65 บ. โบรกฯ การันตรีพื้นฐานแกร่ง อนาคตโตไม่ยั้ง!

ลุ้น PACO เทรดวันแรกพุ่งกระฉูดเกิน 1.65 บ. โบรกฯ การันตรีพื้นฐานแกร่ง อนาคตโตไม่ยั้ง!


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (22 มี.ค.) บริษัท เพรสซิเด้นท์ ออโตโมบิล อินดัสทรีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PACO จะเข้าจดทะเบียนและเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ mai ในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม เป็นวันแรก โดย PACO มีทุนชำระแล้ว 500 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญเดิม 740 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเพิ่มทุน 260 ล้านหุ้น เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนครั้งแรก (IPO) โดยแบ่งเป็นเสนอขายต่อประชาชน จำนวนไม่เกิน 195 ล้านหุ้น เสนอขายต่อผู้มีอุปการคุณของบริษัทฯ จำนวนไม่เกิน 39 ล้านหุ้น และเสนอขายต่อกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ จำนวนไม่เกิน 26 ล้านหุ้น ในราคาเสนอขายหุ้นละ 1.40 บาท คิดเป็นมูลค่าระดมทุน 364 ล้านบาท และมีมูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคา IPO 1,400 ล้านบาท

โดย PACO ดำเนินธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายชิ้นส่วนอะไหล่เครื่องปรับอากาศรถยนต์ทดแทนในตลาดชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ทดแทนให้แก่ลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ ภายใต้ตราสินค้า “PACO” โดยมีผลิตภัณฑ์หลัก คือ คอยล์ร้อน (condenser) และคอยล์เย็น (evaporator) ปัจจุบันมีสินค้ามากกว่า 2,600 รุ่น ครอบคลุมหลากหลายแบรนด์ของยานยนต์ทุกประเภท ทั้งนี้ ในปี 2563 มีสัดส่วนการจำหน่ายในประเทศ 46.6% และต่างประเทศ 53.4% โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์ครอบคลุมถึงทวีปเอเชีย อเมริกาเหนือ ยุโรป อเมริกาใต้ และออสเตรเลีย

สำหรับราคาเสนอขายหุ้น IPO คิดเป็นอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (P/E ratio) ที่ 18.42 เท่า โดยคำนวณกำไรสุทธิต่อหุ้นจากผลการดำเนินงานในช่วง 4 ไตรมาสล่าสุด (1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2563) ซึ่งเท่ากับ 76.86 ล้านบาท หารด้วยจำนวนหุ้นทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้นครั้งนี้ (fully diluted) คิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.076 บาท มีบริษัทหลักทรัพย์ คิงส์ฟอร์ด จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย

ด้าน นายสมชาย เลิศขจรกิตติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร PACO เปิดเผยว่า PACO มุ่งเน้นที่จะพัฒนาเทคโนโลยีและยกระดับมาตรฐานกระบวนการผลิตให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง เช่น การนำหุ่นยนต์ และเครื่องจักรแบบอัตโนมัติมาใช้ในกระบวนการผลิตเพิ่มขึ้น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้อยู่ระดับมาตรฐานสากลและหลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันของลูกค้าแต่ละกลุ่มได้ โดยจะนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไป ชำระคืนเงินกู้สถาบันการเงินไปลงทุนในโครงการก่อสร้างคลังสินค้า ย้ายจุดกระจายสินค้าในประเทศ จัดตั้งบริษัทย่อยเพื่อเป็นศูนย์กระจายสินค้า ขยายตลาดในประเทศมาเลเซีย และเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ

ทั้งนี้ PACO มีโครงสร้างผู้ถือหุ้นหลักหลัง IPO คือ กลุ่มครอบครัวเลิศขจรกิตติ ถือหุ้น 74% บริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่น้อยกว่า 40% ของกำไรสุทธิจากงบเฉพาะกิจการภายหลังจากหักภาษีเงินได้นิติบุคคล และจัดสรรสำรองต่างๆทุกประเภทตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทฯ

ด้าน บล.คิงส์ฟอร์ด (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์ว่า PACO  ดำเนินธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศ รถยนต์ทดแทนให้แก่ลูกค้าในประเทศและต่างประเทศ โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์ครอบคลุมถึงทวีปเอเชีย อเมริกาเหนือ ยุโรป อเมริกาใต้ และออสเตรเลียมีจุดเด่นสำคัญที่เหนือกว่าคู่แข่ง คือ ผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ PACO มีคุณภาพสูงและมีจำนวนรุ่นที่หลากหลายถึง 2,600 รุ่น ครอบคลุมรุ่นรถยนต์ยี่ห้อต่างๆ ทั่วโลก

อีกทั้งเทคโนโลยีการผลิตทันสมัย สามารถผลิตและจำหน่ายได้ตามความต้องการของลูกค้า ทำให้ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง คาดกำไรโตเฉลี่ย 55.7% ใน 3 ปี ระดมทุนคืนหนี้ ขยายธุรกิจใน – ต่างประเทศ ประเมินมูลค่ำเหมาะสมปี 2564 อิง P/E 17 เท่า อยู่ที่ 1.65 บาท คิดเป็นสัดส่วนรายได้ราว 90% ของรายได้รวม

ทั้งนี้คาดการณ์กำไรสุทธิปี 2563-2565 ของบริษัทจะเติบโตด้วยอัตราเฉลี่ยต่อปี (CAGR) 55.7%โดยมีปัจจัยหนุนจาก 1) ตลาด REM ยังสามารถเติบโตได้ดีแม้อยู่ในสภาวะ COVID-19 2) การขยายฐานตัวแทนจำหน่ายจากโครงการ PACO AutoHub 3) การขยายฐานลูกค้าในประเทศมาเลเซีย 4) รักษาความสามารถในการทำกำไรได้โดดเด่นกว่าอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ โดยประมาณการรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ในปี 2563-2565 เติบโตด้วยอัตราเฉลี่ยต่อปี (CAGR) 10.7% มาจากโครงการ PACO AutoHub ซึ่งเป็นการสร้างฐานตัวแทนจำหน่าย และคำคำสั่งซื้อใหม่จำกกลุ่มลูกค้า OES

นอกจากนี้ยังมี Bidding Project ใหม่จากส่วน OES และ OEM ที่คาดว่าจะได้รับเพิ่มเติมใน 2H64 รวมถึง จัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าและขยายตลาดในประเทศมาเลเซีย ประกอบกับต้นทุนแรงงานที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญหลังติดตั้งเครื่องจักรอัตโนมัติทดแทน ส่งผลให้คาดอัตรากำไรขั้นต้น ในปี 2564-2565 อยู่ที่ 24.50-25%

โดยประเมินกำไรสุทธิในปี 2564-2565 จะเติบโตต่อเนื่องเป็น 97.17 ล้านบาท 27.81% เมื่อเทียบจากปีก่อน และ 115.78 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.15% เมื่อเทียบจากปีก่อน หลังการระดมทุนด้วยการออกหุ้น IPO จำนวน 260 ล้านหุ้น ที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท เสนอขายให้ประชาชนทั่วไป 26% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัท คาดว่าจะช่วยให้ฐานะทางการเงินของบริษัทมีความแข็งแกร่งขึ้น D/E จะลดลงจาก 1.18 เท่า ในไตรมาส 3/63 เหลือ 0.57 เท่า ในปี 2564 มีสภาพคล่องและกระแสเงินสดเพียงพอต่อการลงทุนในอนาคต

โดยประเมินมูลค่าเหมาะสมปี 2564 อิง P/E 17 เท่า อยู่ที่ 1.65 บาทฝ่ายวิจัยเลือกใช้วิธี P/E ในการประเมินมูลค่ำเปรียบเทียบกับบริษัทที่ประกอบธุรกิจคล้ายคลึงกับ PACO ทีจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai มีค่าเฉลี่ย P/E ในอดีตช่วงปี2560-2562 (ก่อน COVID-19) ที่ 17 เท่า อีกทั้งมองว่า PACO ควรจะซื้อขายในระดับ Premium เหนือกว่าบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทย ซึ่งซื้อขายกันที่ Forward

ส่วน P/E ปี 2564 เฉลี่ยที่ 13 เท่า เนื่องจากส่วนใหญ่พึ่งพิงรายได้จำกกลุ่มลูกค้า OEM เป็นหลักนอกจากนี้ ยังพิจารณาบริษัทต่างชาติที่ทำธุรกิจคล้ายคลึงกับของบริษัท พบว่ามี Forward P/E ปี 2564 เฉลี่ยที่ 17 เท่า แม้มูลค่าตลาดจะใหญ่กว่าและดำเนินธุรกิจหลากหลาย แต่มองว่ามีความเหมาะสมในการใช้เป็นตัวเปรียบเทียบ ดังนั้นจึงประเมินมูลค่าโดยเลือกใช้P/E ที่ระดับ 17 เท่า ได้ราคาเหมาะสมปี 2564 ที่ 1.65 บาท

Back to top button