‘สีม่วง’ ทำไมต้อง 30 : 70

จากกรณีถูกเคลือบแคลงและถูกตั้งคำถามถึงการประมูล “โครงการประมูลก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้” ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 23.6 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 101,112 ล้านบาท ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่กำหนดเกณฑ์พิจารณาผู้ชนะการประมูลแต่ละสัญญาจากข้อเสนอด้านเทคนิคและราคาประกอบกันสัดส่วน 30 : 70%


จากกรณีถูกเคลือบแคลงและถูกตั้งคำถามถึงการประมูล “โครงการประมูลก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้” ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 23.6 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 101,112 ล้านบาท ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่กำหนดเกณฑ์พิจารณาผู้ชนะการประมูลแต่ละสัญญาจากข้อเสนอด้านเทคนิคและราคาประกอบกันสัดส่วน 30 : 70%

เหมือนดั่งเช่น “การประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม” มูลค่า 142,700 ล้านบาท ของรฟม. ที่กำลังถูกเอกชนรายหนึ่งยื่นฟ้องร้อง และกำลังอยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาของศาลฯ อยู่ในขณะนี้..!!

เรื่องดังกล่าว รฟม.ชี้แจงผ่านเอกสารว่า “โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) เป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ที่มีวงเงินในการจัดจ้างมูลค่าสูงและมีผลกระทบโดยตรงต่อประโยชน์สาธารณะ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานโครงการเป็นไปด้วยความรอบคอบ โปร่งใสและตรวจสอบได้

รฟม.จึงแจ้งความประสงค์เสนอโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ เข้าร่วมการดำเนินงานภายใต้ข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2561 และมีการลงนามข้อตกลงคุณธรรมระหว่าง รฟม.และผู้สังเกตการณ์จากองค์ กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) ตั้งแต่วันที่ 18 มิ.ย.2561

เนื่องจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง เป็นโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ที่มีความซับซ้อนและต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการก่อสร้าง ประกอบกับสภาพพื้นที่เส้นทางโครงการที่ผ่านเขตชุมชนหนาแน่น พื้นที่ที่มีความอ่อนไหวสูง รวมถึงพื้นที่เกาะกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นต้น

จึงมีความจำเป็นที่ต้องได้ผู้รับจ้างที่มีประสบการณ์และมีสมรรถนะสูงเพียงพอสำหรับการก่อสร้างเพื่อให้สามารถดำเนินงานก่อสร้างให้สำเร็จลุล่วงเป็นไปตามแผนงานได้อย่างมีคุณภาพและความปลอดภัยสูงสุด รวมทั้งสามารถลดผลกระ ทบด้านการจราจรและด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างการก่อสร้างให้ได้มากที่สุด และส่งผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด จะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อภาครัฐและประชาชนผู้ใช้บริการ

ในการดำเนินการคัดเลือกผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธา รฟม.ได้ใช้รูปแบบการประกวดราคานานาชาติ (International Competition Bidding : ICB) โดยกำหนดเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอของผู้เข้าร่วมประกวดราคา และใช้เกณฑ์ด้านราคาประกอบเกณฑ์เทคนิค เป็นไปตามพ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 มาตรา 65 และระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ข้อ 83 (2) ประกอบกับแนวทางการปฏิบัติในการจัดทำร่างขอบเขตของงาน กรณีหน่วยงานของรัฐกำหนดเกณฑ์การพิจารณาโดยใช้เกณฑ์ราคาประกอบเกณฑ์อื่น ตามหนังสือของคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ลงวันที่ 8 เม.ย.2564 เพื่อให้ได้ผู้รับจ้างที่มีศักยภาพสูงและเหมาะสมที่จะสามารถดำเนินงานโครงการได้สำเร็จตามแผนงานและมีคุณภาพภายใต้ กรอบงบประมาณที่กำหนดไว้

นอกจากนี้ รฟม.ได้นำร่างประกาศประกวดราคาและร่างเอกสารประกวดราคาทั้งหมด เผยแพร่ในระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (eGP) กรมบัญชีกลางและเว็บไซต์ของ รฟม. เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากบุคคลทั่วไปและผู้ประกอบการ ตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ทุกประการแล้ว

โดยโครงการดังกล่าว เป็นโครงการรถไฟฟ้าที่เชื่อมโยงการเดินทางระหว่างนนทบุรี กับ กทม.ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี รวมถึงสมุทรปราการ เข้าด้วยกันรวมระยะทาง 23.6 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 13.6 กิโลเมตร 10 สถานี และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 10 กิโลเมตร 7 สถานี มีแผนเริ่มดำเนินงานก่อสร้างปี 2565 และเปิดให้บริการปี 2570”

พอเข้าใจได้พอสังเขปว่า “ทำไมต้อง 30 : 70” ส่วนข้อกำหนดเงื่อนไขประมูลที่ว่านี้..จะไปเข้าทางปืนบริษัทเอกชนผู้เข้าร่วมประมูลรายใดหรือไม่..อันนี้ต้องจับตาดูกันต่อ ไป..เพราะบทเรียนจาก “รถไฟฟ้าสายสีส้ม” มันทำให้หลายคนเกิด “อาการขมคอ” มาแล้ว.!!

Back to top button