ข่าวลวง & ปิดบังข้อมูล

วันที่ 29 ก.ค. 64 ที่ผ่านมา เว็บไซด์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ ห้ามเสนอข่าวปลอม ทำให้หวาดกลัว ฝ่าฝืนสั่งระงับสัญญาณอินเทอร์เน็ต-ลงโทษตามกฎหมาย ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 29) หรือเป็นที่รู้กันว่านี่คือกฎหมายที่ออกมาเพื่อจัดการกับ Fake news ที่รัฐบาลใช้เป็นเหตุในการออกประกาศฉบับดังกล่าว โดยสาระสำคัญ ระบุว่า....


วันที่ 29 ก.ค. 64 ที่ผ่านมา เว็บไซด์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ ห้ามเสนอข่าวปลอม ทำให้หวาดกลัว ฝ่าฝืนสั่งระงับสัญญาณอินเทอร์เน็ต-ลงโทษตามกฎหมาย ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 29) หรือเป็นที่รู้กันว่านี่คือกฎหมายที่ออกมาเพื่อจัดการกับ Fake news ที่รัฐบาลใช้เป็นเหตุในการออกประกาศฉบับดังกล่าว โดยสาระสำคัญ ระบุว่า….

-ห้ามผู้ใดเสนอข่าวจำหน่ายหรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใดที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ในเขตพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

-กรณีมีการเผยแพร่ข้อความหรือข่าวสารดังกล่าวในอินเทอร์เน็ต ให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีหน้าที่ตรวจสอบว่าข้อความหรือข่าวสารดังกล่าวมีที่มาจากเลขที่อยู่ไอพี (IP address) ใดให้ระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่เลขที่อยู่ไอพี (IP address) นั้นทันที

จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางว่า..นี่คือ “กฎหมายปิดปากประชาชน” หรือไม่.!? และที่สำคัญนี่เป็นลิดรอนสิทธิ์ขั้นพื้นฐานในการแสดงออกของประชาชน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยหรือไม่..!?

ขณะเดียวกันบริบทของคำว่า Fake news ที่ว่ามันคืออะไรกันแน่.!?

“ข่าวลวง” หรือ Fake news เดิมมีนิยามหลากหลายความหมาย แต่จากคณะกรรมาธิการยุโรปและตามบริบทการเมืองของสหรัฐฯ “ข่าวลวง” หมายถึงข่าวที่มีเนื้อหาอันไม่เป็นข้อเท็จจริง หลอกหลวง หรือข่าวสร้างสถานการณ์รวมถึงการเขียนข่าวที่ได้รับการสนับสนุนอย่างปิดบังหรือแอบแฝง ด้วยการนำเสนอผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ตามรูปแบบหรือแพลตฟอร์มต่าง ๆ

หากอ้างอิงรายงานของ LSE Media Policy Project ที่ทำขึ้นโดย Tambini เมื่อปี 2017 พบว่า มีการจำแนก Fake News ไว้ 6 กลุ่มด้วยกันคือ 1) Fabricated Content หรือข่าวปลอมที่เป็นข้อมูลเท็จทั้งหมด เพื่อหวังให้ประชาชนเข้าใจผิด 2) Manipulated Content หรือข่าวบิดเบือนแม้จะมีข้อมูลหรือภาพจริงและมักพาดหัวข่าวดึงดูดความสนใจ

3) Imposter Content หรือข่าวแอบอ้าง มีแหล่งข่าวและภาพบุคคลจริงมาอ้างอิงเพื่อความน่าเชื่อถือ มักทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ง่าย 4) Misleading Content  หรือข่าวที่นำเสนอข้อมูลชี้นำเพื่อโจมตีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง 5) False context of connection หรือข่าวที่ใช้ภาพหรือพาดหัวไม่ตรงกับเนื้อหาที่ถูกต้องจนสร้างความตื่นตระหนก  6) Satire and Parody  หรือคอนเทนต์เสียดสี ล้อเลียน ถือเป็นข่าวปลอมที่เป็นภัยน้อยสุด

ในทางกลับกัน..มุมสะท้อนกลับมาสู่รัฐบาลว่าด้วยเรื่อง “การเปิดเผยข้อมูลหรือเท็จจริง” จากภาครัฐตลอดช่วงที่ผ่าน มา และที่เป็นอยู่ขณะนี้ ครบถ้วนตามสิทธิ์ที่ประชาชนควรรับรู้หรือไม่.!?

ปฏิเสธไม่ได้ว่า “การเปิดเผยข้อมูลไม่ครบถ้วน” ถือเป็นหนึ่งในต้นเหตุสำคัญ ที่ทำให้เกิด Fake news ด้วยความที่ได้ข้อมูลไม่ครบถ้วน มันนำไปสู่การตีความข้อมูลที่ได้ต่าง ๆ นานา แตกต่างกันไป แหละนั่นหมายถึงสุ่มเสี่ยงต่อการถูกเผยแพร่ข้อมูลที่เข้าข่ายเป็น “ข่าวลวง” เกิดขึ้นได้

ดังนั้นจุดสกัด “ข่าวลวง” ได้ดีที่สุดของภาครัฐ นั่นคือ “การให้ข้อมูลที่ครบถ้วน” เพราะหากรัฐบาล “ปิดบังข้อมูล” บางประการอย่างที่เป็นอยู่ขณะนี้..มันคงไม่ต่างกับการ “ขี่ช้างไล่จับตั๊กแตน” ไปวัน ๆ เท่านั้นเอง..!!

Back to top button