“เมย์แบงก์” คาด ธปท.เร่งปรับขึ้นดบ. หลังมองศก.ไทยฟื้นเร็วกว่าคาด

“เมย์แบงก์” จัดงานสัมมนา “INVEST ASEAN 2022” 8-9 มิ.ย.65 เน้นจับตาสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน คาดธปท.ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเร็วขึ้น หลังมองเศรษฐกิจฟื้นตัวรับอานิสงส์เปิดประเทศ


นายธีรเศรษฐ์ พรหมพงษ์ นักกลยุทธ์เศรษฐศาสตร์มหภาค บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึง  Maybank Investment Banking Group จัดงาน สัมมนาออนไลน์ INVEST ASEAN 2022 ยิ่งใหญ่ประจำปี ในหัวข้อ “ASEAN : Framing A Future” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-9 มิ.ย.65 ซึ่งเต็มไปด้วยหัวข้อการบรรยายที่น่าสนใจเป็นอย่างมากได้สรุปสาระสำคัญจากการบรรยายไว้ดังนี้

โดยจากสถานการณ์ระหว่าง Russia-Ukraine ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อสูงทั่วโลก กระทบต่อเศรษฐกิจโลกให้มีความเสี่ยง ความเห็นจาก ทีมวิจัย (ประเทศไทย) แม้ว่าจากเหตุผลในเชิงภูมิศาสตร์อาจยังไม่ส่งผลกระทบมากนักต่อภูมิภาค ASEAN ซึ่งสะท้อนจากตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 1/2565 แต่ในทางกลับกันก็สร้างความกังวลว่าอาจเป็นเหตุผลทางการเมืองที่จะจุดชนวนระหว่างจีนกับไต้หวันเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ยังตอกย้ำภาพการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองระหว่างประเทศ ในยุคของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ที่มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปจากยุคของ โดนัล ทรัมป์ ไปเป็นลักษณะการรวมกลุ่มพันธมิตร โดยมีประเทศมหาอำนาจอย่าง สหรัฐฯ จีน ซึ่งมีศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองทัดเทียมกันตามด้วยรัสเซีย และกลุ่มสหภาพยุโรป

อย่างไรก็ตามประเทศในกลุ่ม ASEAN ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้พึ่งพาทั้งด้านการค้าและการลงทุน จากประเทศหรือภูมิภาคใดอย่างเฉพาะเจาะจง อีกทั้งประเทศมหาอำนาจดังกล่าวยังให้ความสำคัญต่อ ASEAN ในฐานะหนึ่งในประเทศคู่ค้า และเป็นส่วนสำคัญในห่วงโซ่อุปทานในหลายอุตสาหกรรม อีกทั้งยังมุ่งต่อยอดช่วงชิงอำนาจทางด้านการเมืองในภูมิภาค ASEAN เหนือคู่แข่งอย่างเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น

สำหรับความเห็นจาก ทีมวิจัย (ประเทศไทย) กรอบความร่วมมือเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก หรือ IPEF ถือเป็นสัญญาณที่บ่งชี้อย่างเป็นรูปธรรมที่สหรัฐฯ กลับมาให้ความสำคัญและเป็นกลยุทธ์ที่มุ่งต่อยอดอำนาจในภูมิภาค ASEAN ในขณะที่จีนเองก็มีกรอบความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและการค้า อย่าง Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) เช่นกัน จากเหตุผลดังกล่าว ประเทศไทย จึงถือว่าได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ(Geopolitics) เช่น สงครามรัสเซีย-ยูเครน หรือแม้แต่สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่เคยเกิดขึ้น ไม่มากหากเทียบกับผลกระทบที่ส่งถึงประเทศผู้ขัดแย้งโดยตรง

โดยแนวโน้มเศรษฐกิจไทยได้อานิสงค์จากการเปิดประเทศหลังสถานการณ์ Covid-19 คลี่คลายลง หนุนให้จำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2565 เริ่มฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ การค้าระหว่างประเทศที่โดนผลเชิงลบจำกัด และในทางกลับกันยังมีหลายสินค้าที่ไทยสามารถช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาดมาได้ ในจังหวะที่ประเทศส่งออกสำคัญรายอื่นเผชิญกับปัญหาด้านอุปทาน

ดังนั้น ความเสี่ยงต่อภาวะ Stagflation จึงยังมีไม่มาก ตัวแปรที่จะส่งผลให้ ธปท.ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเร็วขึ้น จะเกิดในกรณีที่ ธปท. เห็นว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้เร็วกว่าคาด ไม่ใช่เหตุผลด้านเงินเฟ้อ ซึ่งนโยบายการเงินไทยไม่สามารถแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อที่มาจากด้านต้นทุน (Cost Push Inflation) ได้

ทั้งนี้ มองว่าหากพิจารณาผลการประชุมในวันนี้ (8 มิ.ย. 2565) ที่ กนง. มีมติ 4:3 ให้คงดอกเบี้ยนโยบาย โดยมีคณะกรรมการบางส่วนมีความเห็นควรให้เริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ย โดยให้น้ำหนักต่อภาพเชิงบวกของเศรษฐกิจไทยที่การบริโภค การท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวได้เร็วกว่าคาด พร้อมกับปรับมุมมอง GDP ปี 2565 ขยายตัว 3.3%)

สำหรับภาพรวมของธนาคารพาณิชย์จะเปลี่ยนไป การทำธุรกรรมทางการเงินจะไปในช่องทาง Mobile และ Online มากขึ้น โดยเน้นการให้บริการที่เข้าถึงได้ง่าย ต้นทุนต่ำ รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ในขณะที่ช่องทางแบบดั้งเดิม เช่น สาขา แนวโน้มจะลดลงเหลือเพียงการทำธุรกรรมที่จำเป็น (เช่น การทำธุรกรรมด้วยวงเงินที่สูง) Sharing Economy มีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น

รวมถึงธนาคารฯ ในฐานะผู้เป็นตัวกลาง ผู้ให้บริการ Platform จะมีบทบาทมากขึ้น ธนาคารพาณิชย์ในภูมิภาคโดนผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจทั่วโลก เช่น เศรษฐกิจจีนชะลอตัวจากนโยบาย Zero COVID ปัญหาวิกฤต Supply Chain แต่ธนาคารฯมีประสบการณ์และผ่านวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงมาแล้ว การให้ความสำคัญกับการใช้ข้อมูลของลูกค้าให้บริการที่เหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสุด ตอบสนองความต้องการคนรุ่นใหม่สนใจการลงทุนใน Asset Classes ต่างๆ หลากหลายมากขึ้น

รวมถึงการให้ความสำคัญด้าน ESG และความสามารถด้าน Technology เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับบุคลากรในอุตสาหกรรม ซึ่งธนาคารฯ ส่วนใหญ่ในปัจจุบันจัดให้มีการ Training / Upskill และสร้าง Mindset ให้แก่บุคลากร

อย่างไรก็ดี มุมมองของบริษัทและสถาบันการเงินจะต่างจากนักลงทุนรายบุคคล ซึ่งส่วนใหญ่มองการลงทุนใน Crypto ในการสร้างความมั่งคั่งในฐานะทางเลือกในการระดมทุน และโอกาสทางธุรกิจ มีหลายทางในการมี exposures ใน Crypto currencies 1) Buy Side: กระจายการลงทุนในฐานะหนึ่งใน Asset Classes 2) Sell Side: สร้าง Trading Platform, system trading, payment platform โครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับ Crypto / Block Chain ถือเป็นประเด็นที่มีความสำคัญ เช่น การกำหนดนโยบาย ภาษีที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

ขณะที่ด้าน ESG จะเห็นได้ว่า บริษัทที่ให้ความสำคัญกับ ESG ส่งผลเชิงบวกต่อผลการดำเนินงาน (Financial Performance) มี Positive Correlation มีหลายสาเหตุที่เป็นปัจจัยส่งผลต่อ ESG Evolution อาทิ ผลเชิงบวกต่อด้านการเงิน ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และวิกฤตทางการเงินที่ผ่านมา โดยขนาดของ Global Sustainable Investing Assets เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ สู่ระดับ USD 35.3 Trillion ในปี 2563 สะท้อนแนวโน้มที่เร่งตัวเร็วขึ้น ESG Fund outperform ประมาณ 8% ในปี 2564 (source: Morningstar), ESG portfolio: OW: TECH, UW: Fossil Fuels,Products ที่เกี่ยวข้องกับ ESG มีมากขึ้นและขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญในปี 2564

นำโดยตราสารหนี้ Sustainability Bond, Green Loan รวมทั้งฝั่ง Buy Side ก็ให้ความสำคัญเป็นส่วนหนึ่งในการเลือกสินทรัพย์การลงทุน ความท้าทายประกอบด้วย ข้อมูลที่ยังมีไม่เพียงพอ มาตรฐานด้าน ESG ที่ถูกกำหนดโดยหลายหน่วยงาน หรือ องค์กรยังไม่มีความสอดคล้องกัน ความโปร่งใส กฎระเบียบ นักลงทุนยังไม่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับ Invest ASEAN จัดขึ้นเป็นเวลา 2 วันใน 6 เมืองในกลุ่มอาเซียน 6 ประเทศ ได้แก่ กัวลาลัมเปอร์ สิงคโปร์ กรุงเทพฯ จาการ์ตา มะนิลา และโฮจิมินห์ซิตี้ ในวันที่ 8-9 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ในหัวข้อ “ASEAN : Framing A Future”

โดย Maybank มีการอภิปรายโดยผู้เชี่ยวชาญชั้นนำเกี่ยวกับโอกาสและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากปัญหาเร่งด่วนที่สุดในปัจจุบันที่ส่งผลกระทบต่อภูมิภาค แนวโน้มเศรษฐกิจและภูมิศาสตร์การเมืองทั่วโลก ธุรกิจตัวอย่างที่มุ่งเน้น ESG และความหลากหลาย ความเท่าเทียมและการบูรณาการ การซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลของสถาบัน และการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในด้านการธนาคาร รวมถึงประเด็น Street Beats ในหัวข้อที่น่าสนใจสำหรับแต่ละตลาดในกลุ่มอาเซียน 6 ประเทศเกี่ยวกับกลุ่มธนาคารเพื่อการลงทุนเมย์แบงก์ (เมย์แบงก์ ไอบีจี)

ทั้งนี้ Maybank Investment Banking Group (เดิมชื่อ Maybank Kim Eng Group) เป็นธนาคารเพื่อการลงทุนชั้นนำของอาเซียนที่มีความเชี่ยวชาญในด้านวาณิชธนกิจและบริการให้คำปรึกษา นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์รายย่อยและสถาบัน การวิจัย อนุพันธ์และนายหน้าชั้นนำ พร้อมทีมงานในการดำเนินงานและทีมวิจัยที่เต็มรูปแบบในตลาดอาเซียนทั้งหกประเทศ ได้แก่

มาเลเซีย, สิงคโปร์, ไทย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม และยังมีอยู่ในฮ่องกง อินเดีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา บริษัทได้รับรางวัลมากกว่า 1,000 รางวัลนับตั้งแต่ก่อตั้งครอบคลุมธุรกิจนายหน้าค้าหลักทรัพย์สำหรับลูกค้ารายย่อยและสถาบัน งานด้านการวิจัย วาณิชธนกิจ บริการรับฝากทรัพย์สิน ธุรกรรมที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืน และการเงินอิสลาม กลุ่มบริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นขุมพลังในการขับเคลื่อยเพื่อความเจริญรุ่งเรืองที่เท่าเทียมกันผ่านบริการ Humanising Financial Services และตั้งเป้าที่จะเป็นธนาคารเพื่อการลงทุนที่ยั่งยืนอันดับหนึ่งในอาเซียน

Back to top button