ALT แย้มปี 67 สดใส! รุกหนัก “เคเบิลใต้น้ำ” พ่วงตุนแบ็กล็อก 3.7 พันล้านบาท

ALT แย้มปี 67 สดใส! หลังตุนแบ็กล็อกแน่น 3.7 พันล้านบาท จะทยอยรับรู้รายได้จำนวน 1 พันล้านบาท ภายในปีนี้ พร้อมรุกธุรกิจเคเบิลใต้น้ำ ส่วนปี 68 วางเป้าลุยติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป กำลังการผลิต 50 เมกะวัตต์


นางปรีญาภรณ์ ตั้งเผ่าศักดิ์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอแอลที เทเลคอม จำกัด (มหาชน) หรือ ALT เปิดเผยข้อมูลภาพรวมธุรกิจของบริษัทผ่านงาน Opportunity Day จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ในวันที่ 6 มีนาคม 2567 ว่า ผลการดำเนินงานปี 2566 บริษัทมีรายได้ 1,466.54 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีรายได้ 1,148.27 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่มาจากรายได้การขายสินค้าและรายได้จากการให้บริการโครงข่ายเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปี 2566 บริษัทพลิกมีกำไรสุทธิ 21.99 ล้านบาท

ทั้งนี้ ณ สิ้นปี 2566 บริษัทปัจจุบันบริษัทมีงานในมือ (Backlog) 3,721.95 ล้านบาท โดยหลักๆที่เป็นรายการส่วนใหญ่จะเป็นสัญญาระยะยาวให้เช่าโครงข่ายไฟเบอร์ใยแก้วนำแสง และเคเบิลสเตชันกับลูกค้ามูลค่า 2,188.22 ล้านบาท และเป็นสัญญาให้บริการโซลาร์ ซึ่งจะ PPA ระยะยาวอายุสัญญา 10 ปี และ 20 ปี มูลค่าอยู่ที่ 781 ล้านบาท ส่วนเหลือที่เป็นแบ็กล็อกงานขายและบริการ 752.58 ล้านบาท โดยงานดังกล่าวคาดว่าจะรับรู้รายได้ในปี 2567 ประมาณ 1,000 ล้านบาท นอกจากนี้จะมีรายได้ส่วนอื่นเพิ่มเติมเข้ามา

สำหรับแผนธุรกิจในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม (Network Infrastructure) ในปี 2567-2569 บริษัทมีแผนเชื่อมต่อ Data Center พื้นที่จังหวัดระยองมายังสถานีเคเบิ้ลใต้น้ำและเชื่อมต่อไปยังพื้นที่ในกรุงเทพฯทั้งหมด และมีแผนจะขยายโครงข่ายเพื่อเชื่อมต่อสถานีโครงขายชายฝั่งด้านตะวันตกที่จังหวัดสตูลไปถึงชายฝั่งด้านตะวันออกในจังหวัดสงขลา ซึ่งถือเพื่อเป็นการตอกย้ำให้เห็นว่าไทยพร้อมมุ่งไปสู่การเป็นศูนย์กลางธุรกิจดิจิทัลในอาเซียน หรือ ASEAN Digital Hub ได้อย่างสมบูรณ์”

“โดยโครงข่ายที่สร้างขึ้นบริษัทได้มีการเชื่อมต่อ Data Center ซึ่งเป็น Top 10 ในเมืองไทยทุกที่เข้าไว้หมดแล้ว และมีอีก 4-5 ที่เตรียมเชื่อมต่อให้เสร็จภายในปีนี้ ซึ่งตรงนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า Data Center ใหม่ ๆ และกลุ่มนักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในไทย มาใช้บริการเชื่อมต่อโครงข่ายบริการสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น อีกทั้งการมีการสร้างสถานีเคเบิลใต้น้ำพื้นที่จังหวัดสตูล ซึ่งแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และะมีแผนสร้างสถานีเคเบิลใต้น้ำทางฝั่งของจังหวัดสงขลาถือเป็นการตอกย้ำให้เห็นว่าไทยมุ่งจะมุ่งไปสู่การเป็นศูนย์กลางธุรกิจดิจิทัลในอาเซียน หรือ ASEAN Digital Hub ได้อย่างสมบูรณ์”

ส่วนกลุ่มธุรกิจพลังงานอัจฉริยะ หรือ Smart Grid & Smart Energy บริษัทมีการลงทุนและติดตั้งระบบผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยโซล่าร์เซลล์ให้กับลูกค้า (Private PPA) อย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้ภาคธุรกิจและภาครัฐ รวมถึงภาคครั่วเรือนร่วมกันใช้กระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด และมีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ และช่วยเสริมรายได้อีกทางให้บริษัท

โดยสิ้นปี 2566 บริษัทได้เข้าทำสัญญาให้บริการพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานแสงอาทิตย์ กับลูกค้าทั้งภาครัฐและเอกชน โดยบริษัทเป็นผู้รับผิดชอบการลงทุนกำลังการผลิตรวม 17 MW อายุสัญญาระหว่าง 10- 20 ปี อายุสัญญาเฉลี่ย 16 ปี โดยประมาณการมูลค่าสัญญาอยู่ที่ 960 ล้านบาท และในปี 2567 จะมีมูลค่าสัญญาเพิ่มอีก 346 ล้านบาท รวมเป็นมูลค่า 1,306 ล้านบาท โดยประมาณการรายได้ในปี 2567 อยู่ที่ 62 ล้านบาท และคิดเป็นระยะเวลาคืนทุนเฉลี่ย 8 ปี/ IRR 9% พร้อมตั้งเป้าหมายปี 2568 จะมีเพิ่มโครงการโซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop PPA) กำลังการผลิตรวมแตะ 50 เมกะวัตต์ (MW)

ขณะที่ความคืบหน้าโครงการเปลี่ยนทดแทนมิเตอร์แบบจานหมุนเป็น “อิเล็กทรอนิคมิเตอร์” ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้มี ซึ่งบริษัทย่อยชนะการร่วมประมูลงานในเขตจังหวัดปทุมธานี สระบุรี ปราจีนบุรี เพชรบุรี สมุทรสงครา จำนวนราว 300,000 มิเตอร์ บริษัทมีแผนส่งมอบภายในไตรมาส 2/67

ส่วนแนวโน้มผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2567 คาดสดใสจากไตรมาส 4/2566 เนื่องจากแนวโน้มธุรกิจเช่าโครงข่าย Data Center ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งธุรกิจพลังงานจะเป็นตัวสนับสนุนรายได้ของกลุ่มบริษัทมากขึ้นในอนาคต ดังนั้นบริษัทมั่นใจว่าทั้งรายได้และกำไรปีนีจะเติบโตต่อเนื่องตามแผนธุรกิจที่วางไว้

Company Snapshot ผลประกอบการปี 2566

Back to top button